เขือง
Leea rubra Blume ex Spreng., LEEACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูงไม่เกิน 3 ม. ใบประกอบแบบขนนกสองถึงสามชั้น เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 2-25 ซม. ก้านใบประกอบยาว 2-8 ซม. หูใบลักษณะคล้ายปีก กว้าง 3-5 มม. ยาว 2-4 ซม. ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-6 ซม. ยาว 2-12 ซม. ปลายแหลม ก้านใบย่อยยาว 0.2-1 ซม. ช่อดอกยาว 8-14 ซม. ดอกและก้านช่อดอกสีแดงสด กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ กลีบดอกโคนติดกันด้านในติดกับส่วนของเกสรเพศผู้ ปลายแยกเป็นกลีบรูปไข่ 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่มี 6 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ผลกลม ด้านบนแบน กว้าง 0.8-1 ซม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย เนปาล บังคลาเทศ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน ภูมิภาคมาเลเซีย จนถึงออสเตรเลียและฟิจิ


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : พบที่ชายป่าและเชิงเขา บนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลไปจนถึงสูงประมาณ 300 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.