กัดลิ้น


ชื่อพื้นเมือง : กัดลิ้น (ชลบุรี), ขี้อ้าย (ลำปาง), มะค่าลิ้น (อุตรดิตถ์, ปราจีนบุรี), ลำไยป่า (อุตรดิตถ์), แก้วลาว (จันทบุรี)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Walsura trichostemon Miq.


ชื่อวงศ์ : MELIACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-12 ม. เรือนยอดแผ่นกว้างถึงค่อนข้างกลม ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อยสามใบ ใบย่อยใบกลางใหญ่ที่สุด ใบย่อยคู่ข้างอยู่ตรงข้ามกัน ตรงส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยป่องเป็นข้อ ใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ปลายเรียวแหลม โคนสอบ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ดอกเล็ก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เล็กมาก รูปสามเหลี่ยม มีขนสั้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวนวล รูปขอบขนานปลายมน ยาวประมาณ 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ด้านนอกมีขนสั้น เกสรเพศผู้ 10 อัน ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน มี 1 เมล็ด เมล็ดกลม


ประโยชน์ : -


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม