กัดลิ้น
Walsura trichostemon Miq., MELIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 5-12 ม. เรือนยอดแผ่นกว้างถึงค่อนข้างกลม กิ่งอ่อนมีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน และมีช่องอากาศเห็นชัดเจน ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อยสามใบ ใบย่อยใบกลางใหญ่ที่สุด ใบย่อยคู่ข้างอยู่ตรงข้ามกัน ก้านใบประกอบยาว 5-10 ซม. ตรงส่วนที่เชื่อมกับก้านใบย่อยป่องเป็นข้อ ใบย่อยรูปรีแกมรูปขอบขนานถึงรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 3.5-6.5 ซม. ยาว 7-15 ซม. ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีอ่อนกว่า ปลายเรียวแหลม โคนสอบ เส้นแขนงใบข้างละ 9-10 เส้น นูนเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบย่อยยาว 1-4.5 ซม. โคน และปลายก้านป่องเป็นข้อและทำมุมกับแผ่นใบย่อย ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ยาว 5-10 ซม. มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน ดอกเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เล็กมาก รูปสามเหลี่ยม มีขนสั้น กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวนวล รูปขอบขนานปลายมน ยาวประมาณ 6 เท่าของกลีบเลี้ยง ด้านนอกมีขนสั้น เกสรเพศผู้ 10 อัน รังไข่มี 2 ช่อง ผลกลม เมื่อสุกสีเหลือง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. มีขนสั้นสีน้ำตาลอ่อน มี 1 เมล็ด เมล็ดกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7 มม. มีเยื่อนุ่มหุ้ม


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่า และกัมพูชา


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าดิบแล้ง บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.