กะเหรี่ยง
Ficus capillipes Gagnep., MORACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 5-20 ม. เรือนยอดแผ่กว้าง หรือค่อนข้างกลมเปลือกเรียบ สีเขียว น้ำยางสีขาว กิ่งเรียวเล็ก มีขนสั้นนุ่ม มีรอยแผลใบ และรอยแผลหูใบเห็นชัดเจน ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก กว้าง 3-5 ซม. ยาว 9-12 ซม. ปลายเรียวยาว โคนมน ขอบเรียบ แผ่นใบบาง เกลี้ยง หรือมีขนสั้นประปราย เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น คู่แรกออกจากโคนใบ ก้านใบเรียว ยาว 1.5-3 ซม. มีขนสั้นนุ่ม หูใบเรียวเล็ก หลุดร่วงง่าย ผลแบบมะเดื่อ ค่อนข้างกลม เนื้อนุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. มีขนสั้นหนานุ่ม ภายในผลรวมมีผลเล็กๆ คล้ายเมล็ดจำนวนมาก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคอินโดจีน


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.