ไกร
Ficus concinna Miq.,
MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้น
สูงได้ถึง 30 ม.
มียาวสีขาว
รากอากาศเกิดใกล้โคนต้น
ลำต้น
และทุกส่วนสีน้ำตาล
ไม่มีขน ใบอ่อนสีชมพู ใบเดี่ยว
เรียงเวียนสลับ รูปรี
หรือรูปใบหอกกลับ กว้าง
2-4 ซม. ยาว 5-8.5 ซม. ปลายแหลม
หรือแหลมติ่งสั้น ๆ
โคนแหลมหรือสอบ
ขอบเรียบ แผ่นใบหนา
เสันแขนงใบข้างละประมาณ
12 เส้น
ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ
เส้นกลางใบสีขาว
เห็นเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน
ก้านใบยาว 1.2-1.5 ซม. หูใบ 2
อันประกบกันหุ้มยอดอ่อน
รูปไข่แกมรูปใบหอก
ร่วงง่าย ช่อดอกออกเป็นคู่ตามง่ามใบ
และอยู่ทางด้านล่างของใบ
มีใบประดับเล็ก ๆ 3 ใบ
รูปคล้ายสามเหลี่ยม
ร่วงง่าย ก้านช่อดอกยาว
1-5 มม.
ช่อดอกรูปร่างคล้ายผล
คือมีฐานรองดอกเจริญเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่เป็นกระเปาะมีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้
ดอกเล็กมาก
แยกเพศอยู่ภายในกระเปาะ
ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อย
อยู่ใกล้รูเปิด
ไม่มีก้าน
มีกลีบรวมบางๆ
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
อินเดีย จีนตอนใต้
จนถึงภูมิภาคมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
นิยมปลูกเป็นไม้แคระ
เวลาออกดอก :
กุมภาพันธ์-เมษายน
เวลาออกผล : กุมภาพันธ์-เมษายน
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.