ไกร


ชื่อพื้นเมือง : ไกร (กรุงเทพฯ), ไทรเลียบ (ประจวบคีรีขันธ์), โพไทร (นครราชสีมา)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus superba Miq.


ชื่อวงศ์ : MORACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 8-10 ม. ผลัดใบ มียางสีขาว เปลือกสีเทา ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ รูปรี รูปรีแกมรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมติ่ง หรือเรียวแหลม โคนแหลม ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างบาง หูใบ 2 อัน ประกบกันหุ้มยอดอ่อน รูปไข่ปลายแหลม มีขนสั้นๆ สีเหลืองอ่อน ร่วงง่าย ช่อดอก และผลแบบเดียวกับชนิด ( F. concinna Mig.) ออกเป็นคู่ตรงง่ามใบ หรือที่ตำแหน่งง่ามใบซึ่งใบร่วงไปแล้ว เมื่อยังอ่อนมีขนอ่อนๆ สั้น ๆ เมื่อแก่เกลี้ยง มีใบประดับซึ่งร่วงง่าย 3 ใบ ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อยมาก อยู่ใกล้ๆ รูเปิดของช่อดอก ก้านดอกเล็ก กลีบรวม 3 กลีบ รูปไข่ สั้นกว่าเกสรเพศผู้ ก้านเกสรเพศผู้หนา ดอกเพศเมียมีจำนวนมาก มีกลีบรวมสั้นๆ 3 กลีบ รูปไข่กลับ เกสรเพศเมียยาว อยู่ทางด้านข้างของรังไข่ ผลแบบมะเดื่อ สีขาวอมชมพู รูปกลมแกมรูปไข่กลับ ภายในมีผลเล็กๆ รูปไข่กลับ จำนวนมาก


ประโยชน์ : -


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม