ไกร
Ficus superba Miq,
MORACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้น สูง 8-10 ม.
ผลัดใบ มียางสีขาว
เปลือกสีเทา ทุกๆ
ส่วนเกลี้ยงยกเว้นหูใบ ใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับ
รูปรี
รูปรีแกมรูปขอบขนาน
หรือรูปไข่กลับ กว้าง 5-13
ซม. ยาว 12-25 ซม.
ปลายแหลมติ่งหรือเรียวแหลม
โคนแหลม
ขอบเรียบหรือเป็นคลื่น
เส้นแขนงใบข้างละ 6-8 เส้น
ปลายโค้งจรดกันก่อนถึงขอบใบ
แผ่นใบค่อนข้างบาง
ก้านใบยาว 8-14 ซม. หูใบ 2 อัน
ประกบกันหุ้มยอดอ่อน
รูปไข่ปลายแหลม ยาว 1-1.5 ซม.
มีขนสั้นๆ สีเหลืองอ่อน
ร่วงง่าย ช่อดอก
และผลแบบเดียวกับชนิดแรก
ออกเป็นคู่ตรงง่ามใบ
หรือที่ตำแหน่งง่ามใบซึ่งใบร่วงไปแล้ว
เมื่อยังอ่อนมีขนอ่อนๆ
สั้นๆ เมื่อแก่เกลี้ยง
มีใบประดับซึ่งร่วงง่าย
3 ใบ ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อยมาก
อยู่ใกล้ๆ
รูเปิดของช่อดอก
ก้านดอกเล็ก กลีบรวม 3
กลีบ รูปไข่
สั้นกว่าเกสรเพศผู้
ก้านเกสรเพศผู้หนา
ดอกเพศเมียมีจำนวนมาก
มีกลีบรวมสั้นๆ 3 กลีบ
รูปไข่กลับ
เกสรเพศเมียยาว
อยู่ทางด้านข้างของรังไข่
ผลแบบมะเดื่อ
สีขาวอมชมพู
รูปกลมแกมรูปไข่กลับ
กว้าง 1.8-2.5 ซม.
ภายในมีผลเล็ก ๆ
รูปไข่กลับ จำนวนมาก
ก้านผลยาว 0.7-1.5 ซม.
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
ภูมิภาคอินโดจีน
และภูมิภาคมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ทั่วทุกภาค
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นบนพื้นที่ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงที่สูงประมาณ
150 ม.
เวลาออกดอก :
มกราคม-เมษายน
เวลาออกผล : มกราคม-เมษายน
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.