กานพลู
Syzygium aromaticum (L.)
Merr. et Perry, MYRTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้น สูง 9-12 ม.
อาจสูงได้ถึง 20 ม.
เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ
แตกกิ่งต่ำ
ลำต้นตั้งตรง
เปลือกเรียบ สีเทา ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม รูปใบหอก
รูปรี
หรือรูปไข่กลับแคบๆ
กว้าง 8-11 ซม. ยาว 32-37 ซม.
ปลายแหลม หรือเรียวแหลม
โคนสอบแคบ ขอบเรียบ
แผ่นใบด้านบนเป็นมัน
มีต่อมน้ำมันมาก
เส้นแขนงใบข้างละ 15-20
เส้น
ปลายเส้นโค้งจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ
ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น
ออกที่ปลายยอด
ยาวประมาณ 5 ซม.
ก้านช่อดอกสั้นมากแต่อาจยาวได้ถึง
1 ซม.
ใบประดับรูปสามเหลี่ยม
ยาว 2-3 มม. กลีบเลี้ยง 4
กลีบ
โคนติดกันเป็นหลอดยาว 5-7
มม.
เมื่อเป็นผลขยายออกเป็นรูปกรวยยาวประมาณ
1 ซม.
ปลายแยกเป็นแฉกรูปไข่
ยาว 3-4 มม. กลีบดอก 4 กลีบ
รูปขอบขนาน หรือกลม ยาว
7-8 มม. มีต่อมน้ำมันมาก
ร่วงง่าย
เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ร่วงง่าย
ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ
7 มม.
ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ
4 มม. ผลรูปไข่กลับแกมรูปรี
ยาว 2-2.5 ซม. แก่จัดสีแดง มี
1 เมล็ด
ถิ่นกำเนิด :
หมู่เกาะโมลุกกะ
การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนทั่วโลก
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: นำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย
สภาพนิเวศน์ : ชอบขึ้นในที่ดินร่วนซุย
การระบายน้ำดี
ความชื้นสูง ฝนตกชุก ขึ้นได้ดีบนพื้นราบถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล
800-900 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.