ก้าว
Tristaniopsis rufescens
(Hance) P.G. Wilson et J.T. Waterhouse, MYRTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง
4-8 ม. ลำต้นมักคดงอ
บิดเล็กน้อย แตกกิ่งต่ำ
เปลือกสีเทา
หรือเทาอมชมพู
แตกลอกม้วนเป็นสะเก็ดแผ่นยาวๆ
ร่วงหล่นบริเวณโคนต้น
กิ่งอ่อนมีขนสีเทาทั่วไป
ใบเดี่ยว
เรียงสลับค่อนข้างถี่ที่ปลายกิ่ง
รูปไข่กลับ
หรือรูปไข่กลับแกมรี
กว้าง 2-4.7 ซม. ยาว 5-12 ซม.
ปลายมนเล็กน้อย
หรือแหลม โคนสอบแหลม
แผ่นใบหนา
ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
เกลี้ยง
ด้านล่างมีขนสีเทา
หรือเทาอมเหลืองหนาแน่น
เส้นแขนงใบปรากฎชัดทั้ง
2 ด้าน ก้านใบยาว 0.5-1.8 ซม. ช่อดอกสั้น
ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง
มีขนสีเทาประปราย
ดอกมีจำนวนมาก
ดอกบานกว้าง 4-5 มม.
กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง
ติดกันคล้ายเป็นรูประฆัง
ด้านนอกมีขนประปราย
ปลายแยกเป็นแฉกสั้น 5
แฉก กลีบดอกเล็กมาก
สีขาวร่วงง่าย
เกสรเพศผู้จำนวนมาก
ออกเป็นกลุ่ม ผลรูปไข่
ยาว 5-7 มม.
มีกลีบเลี้ยงรูประฆังเจริญขึ้นห่อหุ้มส่วนล่างของผล
ส่วนบนของผลเมื่อแห้งแตกออกเป็น
3 เสี่ยง เมล็ดเล็ก แบน
แคบ
ส่วนบนมีลักษณะคล้ายปีก
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่า
และภูมิภาคอินโดจีน
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
และภาคตะวันตก
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามป่าโปร่งบนภูเขาจนถึงพื้นที่สูงประมาณ
1,400 ม.
พบทั่วไปในป่าเต็งรังผสมไม้สนเขา
และป่าดิบเขาที่ค่อนข้างโปร่งมีไม้ก่อขึ้นปะปน
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.