กระโดงแดง
Chionanthus microstigma
(Gagnep.) P.S. Green, OLEACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
สูง 8-15 ม. ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
กว้าง 2.4-3.6 ซม. ยาว 7-11 ซม.
ปลายเรียวแหลม โคนแหลม
ขอบเรียบ
เส้นแขนงใบและเส้นใบเห็นไม่ชัด
แผ่นใบหนา แข็ง
ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
ด้านล่างสีจางกว่า
ก้านใบยาว 3-6 มม.
เมื่อแห้งเปลี่ยนเป็นสีดำ
ช่อดอกออกตามง่ามใบหรือตามกิ่งที่ใบร่วงไปแล้ว
ยาว 0.8-2.5 ซม. มี 3-7 ดอก
ใบประดับเล็กมาก
ร่วงง่าย ดอกเล็ก สีขาว
กลิ่นหอมอ่อน
ก้านดอกสั้น ยาว 1-2 มม.
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
โคนติดกันคล้ายรูปถ้วย
ปลายแยกเป็น 4 กลีบใหญ่
รูปสามเหลี่ยมปลายแหลม
กลีบดอก 4 กลีบ ยาวประมาณ
5 มม.
โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
ปลายแยกเป็น 4 กลีบ
ยาวกว่าหลอดกลีบดอก
เกสรเพศผู้ 2 อัน
ติดอยู่บนผนังกลีบดอก
ก้านชูอับเรณูสั้นกว่าอับเรณู
รังไข่เกลี้ยง ผลมีเนื้อ
ทรงกลมหรือรูปไข่
เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.4 ซม.
มี 1 เมล็ด เมล็ดใหญ่ แข็ง
ถิ่นกำเนิด: -
การกระจายพันธุ์:
ภูมิภาคอินโดจีน
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย:
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง ภาคตะวันออก
และภาคตะวันตกเฉียงใต้
สภาพนิเวศน์:
ขึ้นในป่าดิบแล้ง
บนพื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงสูงประมาณ
600 ม.
เวลาออกดอก: -
เวลาออกผล: -
การขยายพันธุ์: -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ:
-
อ้างอิง:
1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.