กระพี้นางนวล
ชื่อพื้นเมือง
: กระพี้นางนวล
กระพี้เหลือง
กระพี้จั่น (พิษณุโลก),
กระพี้พูน (อุตรดิตถ์),
กระพี้เหลือบ (เพชรบูรณ์),
กระลิงปิงป่า (ราชบุรี),
เค็ดขาว (เชียงใหม่),
จักจั่น (เลย),
ประดู่ตาเหลน (สุโขทัย),
ปี้จั่น ปี้พง กระพี้ (ภาคเหนือ),
อีเม็งใบเล็ก (อุดรธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia
cana Grah. ex Kurz
ชื่อวงศ์ :
LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
ผลัดใบ สูง 10-20 ม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
เรียงสลับ ใบย่อย 13-17 ใบ
เรียงสลับ
รูปรีหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ
ปลายมนหรือมีติ่งสั้น
โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
มีขนประปราย
ดอกรูปดอกถั่ว
มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5
กลีบ
ติดกันคล้ายรูประฆัง
กลีบดอก 5 กลีบ
สีชมพูอมม่วง
เกสรเพศผู้ 10 อัน
รังไข่มีขนประปราย ฝักแบน
รูปขอบขนานแกมรี
ปลายแหลมหรือมน
มีขนประปราย
ฝักแก่ไม่แตก มี 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแดงคล้ำ
รูปไต แบน
ประโยชน์ : -
โทษ : -