กระพี้นางนวล
Dalbergia cana Grah. ex Kurz, LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 ม. กิ่งอ่อนมีขนประปราย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 14-18 ซม. ก้านใบประกอบยาว 4-5 ซม. หูใบรูปใบหอก ร่วงง่าย ใบย่อย 13-17 ใบ เรียงสลับ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 1.3-2.5 ซม. ยาว 3-8 ซม. ปลายมนหรือมีติ่งสั้น โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ มีขนสั้น แผ่นใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบ ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 10-15 ซม. มีขนประปราย ดอกรูปดอกถั่ว มีจำนวนมาก ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันคล้ายรูประฆัง ยาวประมาณ 4 มม. กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูอมม่วง กลีบกลางกว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 7 มม. เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูแยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 อัน รังไข่มีขนประปราย ฝักแบน รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 2-2.5 ซม. ยาว 7-8 ซม. ปลายแหลมหรือมน มีลายเส้นร่างแหชัดเจน มีขนประปราย ก้านฝักยาวประมาณ 5 มม. ฝักแก่ไม่แตก มี 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแดงคล้ำ รูปไต แบน กว้างประมาณ 1.1 ซม. ยาวประมาณ 8 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ลาว


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นในป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ ตามเชิงเขาจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.