กระพี้เขาควาย


ชื่อพื้นเมือง : กระพี้เขาควาย (อุดรธานี, ราชบุรี), กระพี้ (ภาคกลาง), กำพี้ ชิงชัน (เพชรบูรณ์), กำพี้เขาควาย แดงดง (เลย), เก็ดเขาควาย (ภาคเหนือ), เก็ดแดง (แม่ฮ่องสอน, ลำปาง), เก็ดดำ (กาญจนบุรี, ภาคเหนือ), อีเม็งใบมน (อุดรธานี), จักจัน เวียด (ไทยใหญ่-เชียงใหม่), มะขามป่า (เชียงใหม่), เส่งพลิแคละ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia cultrata Grah. ex Benth.


ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ สูง 15-25 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบใกล้ยอด มีดอกดกดูคล้ายเป็นกระจุก ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงเล็ก ติดกันคล้ายรูปถ้วยตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมชมพู เกสรเพศผู้ 9 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นแผ่น ฝักแบนรูปคล้ายกระสวย ฝักตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย ฝักแก่ไม่แตก เมล็ดสีน้ำตาล คล้ายรูปไต ส่วนมากมีเพียงเมล็ดเดียว ฝักที่มี 2-3 เมล็ด พบน้อยมาก


ประโยชน์ : เนื้อไม้ละเอียด สีคล้ำค่อนข้างดำ แข็ง และหนักมาก ทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือน เสา ไม้บุผนัง เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือต่างๆ พานท้ายปืน และเครื่องดนตรีไทย เช่น กลอง โทน รำมะนา จะเข้ รางและลูกระนาด กรับและขาฆ้องวง ได้สวยงามและมีราคาแพง


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม