กระพี้เขาควาย
Dalbergia cultrata
Grah. ex Benth., LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่
ผลัดใบ สูง 15-25 ม.
เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว
ค่อนข้างโปร่ง
เปลือกสีเทานวล
เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดตื้นๆ
กิ่งอ่อนมีขน ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
เรียงสลับ ยาว 9-18 ซม.
มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงสลับ
รูปไข่กลับหรือรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน
กว้าง 1.5-2.2 ซม. ยาว 2.5-4.7 ซม.
ส่วนกว้างที่สุดอยู่ค่อนไปทางปลายใบซึ่งมนและเว้าตรงกลางเล็กน้อย
โคนสอบมน ก้านใบย่อยยาว
2-4 มม. ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
ออกตามง่ามใบใกล้ยอด
มีดอกดกดูคล้ายเป็นกระจุก
ดอกรูปดอกถั่ว
กลีบเลี้ยงเล็ก
ติดกันคล้ายรูปถ้วยตื้นๆ
กลีบดอก 5 กลีบ
สีขาวอมชมพู
กลีบคู่ล่างติดกัน
เกสรเพศผู้ 9 อัน
ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นแผ่น
ฝักแบนรูปคล้ายกระสวย
กว้างประมาณ 2 ซม. ยาว 5-10 ซม.
ปลายและโคนมน
มักมีติ่งแหลมสั้นๆ
ที่ปลาย
ฝักตรงหรือโค้งงอเล็กน้อย
ตามผนังมีลายร่างแหชัดเจน
ฝักแก่ไม่แตก เมล็ดสีน้ำตาล
คล้ายรูปไต กว้างประมาณ
6 มม. ยาวประมาณ 8 มม.
ส่วนมากมีเพียงเมล็ดเดียว
ฝักที่มี 2-3 เมล็ด
พบน้อยมาก
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่าและลาว
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
:
ทั่วทุกภาคยกเว้นภาคใต้
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าทุ่งที่ค่อนข้างชุ่มชื้นทั่วไป
ตามเชิงเขาจนถึงพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
1,200 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.