กระพี้เครือ
Dalbergia foliacea Wall. ex Benth., LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ พาดพันตามต้นไม้ใหญ่ไปได้ไกล กิ่งอ่อนมีขนเล็กน้อย กิ่งแก่เกลี้ยง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 9-15 ซม. มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับ รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 3.4-6.5 ซม. ปลายมน เว้าตรงกลางเล็กน้อยหรือมีติ่งแหลมสั้นๆ โคนมน ขอบเรียบ แผ่นใบหนา ใบอ่อนมีขนประปรายทางด้านล่าง ก้านใบย่อยยาว 3-6 มม. ช่อดอกแยกแขนงสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง ยาว 5-10 ซม. ดอกเล็ก รูปดอกถั่ว มีจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ มีขนเล็กน้อย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว โคนกลีบเรียวลงเป็นก้านกลีบดอก เกสรเพศผู้ 9 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นแผ่น รังไข่มีขนประปราย มีออวุล 2 เม็ด ฝักแบน รูปขอบขนาน กว้าง 1.4-2 ซม. ยาว 3.5-7 ซม. ปลายแหลมหรือมน มีลายเส้นร่างแหบริเวณเมล็ดชัดเจน ฝักแก่ไม่แตก มี 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาล รูปไต แบน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 9 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย พม่า ลาว และเวียดนาม


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่เป็นภูเขาจนถึงระดับสูงประมาณ 150-750 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.