ครี้
Dalbergia parviflora Roxb., LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มรอเลี้อย ยาว 5-20 ม. ลำต้นมักมีหนามซึ่งเกิดจากการชะงักงันของกิ่ง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ก้านใบประกอบยาว 5-7.5 ซม. ใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายมน โคนมนถึงสอบกว้าง เส้นแขนงใบบาง เส้นใบย่อยเป็นร่างแหถี่ๆ เห็นชัดทั้ง 2 ด้าน ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามง่ามใบ ยาว 8-15 ซม. ดอกรูปดอกถั่ว เล็กมาก เรียงเป็นแถวทางด้านบนของแขนงช่อดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นแผ่น รังไข่เล็ก มีขนประปราย มีออวุล 2 เม็ด ฝักค่อนข้างหนา กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 2-6 ซม. มี 1-4 เมล็ด ฝักที่มีเพียงเมล็ดเดียวรูปรีโค้ง ฝักที่มีมากกว่า 1 เมล็ดรูปขอบขนานโค้ง เมล็ดรูปไต กว้าง 5-8 มม. ยาว 1-1.2 ซม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : มาเลเซียและอินโดนีเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำในป่าบริเวณน้ำกร่อยและป่าพรุ


เวลาออกดอก : เดือนมีนาคม-มิถุนายน


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.