กระดูกอึ่ง
ชื่อพื้นเมือง
: กระดูกอึ่ง (สระบุรี),
กาสามปีก มะแฮดง (เชียงใหม่),
ขมิ้นนาง ลูกประคำผี (ปราจีนบุรี),
ขมิ้นลิง (ประจวบคีรีขันธ์),
หน้านวล (สงขลา),
เหนียวหมา (ชุมพร),
อีเหนียว (ภาคกลาง), กำพี
ขามผี ขามผีภู ขามหิน (เลย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrolobium
triangulare (Retz.) Schindl.
ชื่อวงศ์ :
LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้พุ่ม
สูง 0.5-2 ม. ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อยสามใบ
เรียงสลับ
ใบย่อยรูปรีแคบขนาดไล่เลี่ยกันแต่ใบกลางใหญ่กว่าเล็กน้อย
ปลายเรียวแหลม โคนสอบ
ด้านล่างมีขนยาวสีขาวเป็นมัน
ช่อดอกสั้น
ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง
ดอกรูปดอกถั่ว
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
ปลายแยกจากกัน กลีบดอก 5
กลีบ
สีขาวถึงเหลืองอ่อน
เกสรเพศผู้ 10 อัน
ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันเป็นแผ่น
ฝักแบน
เป็นข้อระหว่างเมล็ด มี
3-5 ข้อ
เมื่อแห้งแต่ละข้อจะหลุดออกจากกัน
เมล็ดเล็ก
สีน้ำตาล รูปไต
ประโยชน์ : -
โทษ : -