กระเจาะ
Millettia kangensis
Craib, LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ลักษณะทั่วไปคล้าย Millettia
leucantha Kurz มาก ต่างกันที่ใบประกอบปลายคี่มีใบย่อย
7-9 ใบ ใบแก่มีขนทั้ง 2 ด้าน
ช่อดอกแยกแขนง
ยาวกว่าชนิดแรก
ดอกสีชมพูอมม่วง ยาว 2-2.5
ซม.
กลีบดอกด้านนอกมีขนยาวเป็นมัน
ฝักกว้างประมาณ 1.5
ซม. ยาว 5-6 ซม. เมล็ดแบน
มนกลม กว้างประมาณ 1 ซม.
ยาวประมาณ 1.2 ซม.
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พรรณไม้ถิ่นเดียวของไทย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: พบเฉพาะในภาคเหนือ
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นใกล้ลำธารในป่าเบญจพรรณ
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล
250-500 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.