กระเจาะ
ชื่อพื้นเมือง
: กระเจาะ กระเจ๊าะ
ขะเจาะ ขะเจ๊าะ ขะแมบ
คำแมบ สาธร (ภาคเหนือ),
กระพี้เขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์),
กะเซาะ (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Millettia
leucantha Kurz
ชื่อวงศ์ :
LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง
สูง 15-18 ม.
เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
เรียงสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ
รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน
ปลายมนมีติ่งแหลม
โคนรูปลิ่มหรือมน ช่อดอกออกพร้อมใบอ่อน
ดอกรูปดอกถั่ว
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว
เกสรเพศผู้ 10 อัน
รังไข่มีขน ฝักรูปขอบขนาน
คล้ายฝักมีด
ปลายกว้างเรียวสอบลงมาทางโคน
เปลือกแข็ง
ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก มี 3-4
เมล็ด เมล็ดแบน
สีน้ำตาลคล้ำ
ประโยชน์ :
เนื้อไม้ใช้ทำเสาเรือน
ขื่อ รอด ตง ล้อเกวียน
เพลาเกวียน
เครื่องเรือน บัวรองฝา
ครก สาก กระเดื่อง
ลูกหีบ ฯลฯ
โทษ : -