กระเจาะ
Millettia leucantha
Kurz, LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดกลาง
สูง 15-18 ม.
แต่อาจสูงได้ถึง 20 ม.
เรือนยอดค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก
ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนอ่อนนุ่มคล้ายเส้นไหม
เปลือกสีเทา
เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ
กระพี้สีขาวอมน้ำตาล
แก่นสีน้ำตาลดำ
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
เรียงสลับ
ก้านใบประกอบยาว 20-30 ซม.
ใบย่อย 5-7 ใบ
รูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน
กว้าง 3-3.5 ซม. ยาว 5-12 ซม.
ส่วนกว้างที่สุดอยู่ประมาณกึ่งกลางแล้วค่อยๆ
เรียวสอบไปทางด้านโคนและตอนปลาย
ปลายมนมีติ่งแหลม
โคนรูปลิ่มหรือมน
แผ่นใบด้านล่างสีจางกว่าด้านบน
ใบแก่เกลี้ยง
ก้านใบย่อยสั้น
มีหูใบย่อยขนาดเล็กปลายแหลมใบละ
1 คู่ ช่อดอกออกพร้อมใบอ่อน
ยาว 15-25 ซม. ดอกรูปดอกถั่ว
ยาวประมาณ 1.5 ซม.
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
มีขนอ่อนนุ่ม กลีบดอก 5
กลีบ สีขาว เกสรเพศผู้ 10
อัน
ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นแผ่น
รังไข่มีขน มีออวุล 4-6
เม็ด ฝักรูปขอบขนาน
คล้ายฝักมีด
ปลายกว้างเรียวสอบลงมาทางโคน
เปลือกแข็ง
ฝักแก่แตกเป็น 2 ซีก มี 3-4
เมล็ด เมล็ดแบน
สีน้ำตาลคล้ำ
เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
1.3 ซม.
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
พม่าและลาว
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคกลาง ภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นอยู่ใกล้ลำห้วยในป่าเบญจพรรณ
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน
600 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.