กำปองหลวง
Clematis buchananiana
DC., RANUNCULACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เถาลำต้นเป็นร่องตื้นๆ
กิ่ง ก้านใบ
และช่อดอกมีขนสั้นหนานุ่ม
ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่
เรียงตรงข้าม ยาว 15-20 ซม.
มีใบย่อย 5 ใบ
เรียงตรงข้ามกัน 2 คู่
ใบย่อยรูปไข่ กว้าง 4-7 ซม.
ยาว 6-10 ซม. หยักเป็น 3 แฉก
ตื้นๆ ปลายเรียวแหลม
โคนมนกว้างถึงมนแกมรูปหัวใจ
ขอบหยักฟันซี่
แผ่นใบมีขนสั้นหนานุ่มทั้ง
2 ด้าน
เส้นใบออกจากโคนใบ 3
เส้น เห็นชัด ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง
ยาว 10-25 ซม. มีดอก 3-20 ดอก
ดอกสมบูรณ์เพศ สีนวล
เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5-4 ซม.
ไม่มีกลีบดอก
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
รูปขอบขนาน ปลายมน
กว้างประมาณ 8 มม.
ยาวประมาณ 2.6 ซม.
ด้านนอกมีขนสั้นหนานุ่ม
ด้านในมีประปราย
เมื่อดอกบานกลีบจะม้วนออก
เกสรเพศผู้
และเกสรเพศเมียมีจำนวนมาก
ทั้งก้านชูอับเรณู
และก้านเกสรเพศเมียมีขนยาวสีขาว
ผลแบน
กว้างยาวประมาณ 4 มม.
ปลายยาว มีหางยาว 3-4 ซม.
ซึ่งเกิดจากก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ขนยาว
ช่วยให้ผลลอยลม
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
อินเดีย และพม่า
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคเหนือ
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นตามชายป่าดิบเขา
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล
1,500-2,000 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.