กวางดูถูก
Naravelia laurifolia
Wall. ex Hook.f. et Th., RANUNCULACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เลื้อย ยาว 2-6 ซม.
ลำต้นแข็ง
ผิวเปลือกเรียบ กิ่งกลม
สีน้ำตาลเข้มจนถึงม่วงดำ
แตกแขนงตรงข้ามกัน ใบประกอบ
เรียงตรงข้าม
มีใบย่อยคู่เดียว
มีรยางค์ยาว
ปลายแยกเป็น 3 เส้น
อยู่ระหว่างคู่ใบย่อย
ก้านใบประกอบยาว 4-6 ซม.
ใบย่อยรูปไข่ กว้าง 2-6 ซม.
ยาว 5-10 ซม. ปลายแหลม
โคนสอบมน ขอบเรียบ
หรือหยักตื้นๆ
แผ่นใบหนา สีเขียวเข้ม
เส้นแขนงใบออกจากโคนใบ
ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
ออกตามง่ามใบ
และปลายยอด
ดอกสมบูรณ์เพศ
ก้านดอกยาว 1-2.5 ซม.
กลีบเลี้ยง 4 กลีบ
สีเขียวแต้มม่วง รูปไข่
หรือรูปรียาว กว้าง 3-5 มม.
ยาว 6-9 มม.
เกสรเพศผู้ไม่สมบูรณ์ลักษณะคล้ายกลีบดอก
9-14 อัน กว้างประมาณ 1 มม.
ยาว 1-1.5 ซม.
สีเหลืองอมเขียว
เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์
15-23 อัน เกสรเพศเมียแยก 11-16
อัน ผลแข็ง
รูปกระสวย มีขนสีขาว
ปลายผลมีเส้นยาวคล้ายแส้
บิดโค้งๆ
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
อินเดีย พม่า
ภูมิภาคอินโดจีน
และภูมิภาคมาเลเซีย
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
:
ภาคตะวันออกเฉียงใต้
และภาคใต้
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นในป่าโปร่ง
บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล
10-300 ม.
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์
: -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.