กระทุ่ม
Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich ex Walp., RUBIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตรง สูง 15-30 ม. กิ่งตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งโน้มลง เปลือกต้นสีเทาแก่ มีรอยแตกเป็นร่องตามยาว ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 7.5-17.5 ซม. ยาวได้ถึง 20 ซม. ปลายแหลม แผ่นใบบางเหนียว ด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน มีเส้นแขนงใบประมาณข้างละ 10 เส้น เห็นเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน หูใบระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลม โคนติดกับกิ่งทั้ง 2 ด้าน ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยวๆ ตามปลายกิ่ง กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 ซม. สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ดอกเล็กอัดกันแน่น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายจักแหลม กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว ติดกันเป็นหลอดยาว ปลายกลีบหยักมนแผ่ขยายออก มีขนนุ่มๆ ทางด้านนอก ผลเป็นผลรวม อุ้มน้ำ เกิดจากวงกลีบเลี้ยงของแต่ละดอกเชื่อมติดกัน เมล็ดเล็ก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : อินเดีย ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ทั่วทุกภาค


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามป่าดิบและป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นใกล้น้ำ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 500-1,500 ม.


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.