กระเบียน
Ceriscoides turgida
(Roxb.) Tirveng., RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
ผลัดใบ สูง 7-13 ม.
เปลือกสีเทาเข้มแกมน้ำตาลหรือน้ำตาลหม่น
ล่อนออกเป็นแผ่นบางๆ
เรือนยอดค่อนข้างเล็กไม่ได้สัดส่วน
กิ่งก้านแข็งแรง
อาจมีหนามตรงออกเป็นคู่ที่ข้อ
ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
รูปไข่กลับ กลม หรือรี
กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 2.5-10 ซม.
ปลายมนหรือแหลมเป็นติ่งสั้น
โคนสอบแคบเรียวลงไปจนถึงก้านใบ
ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย
เส้นแขนงใบข้างละ 4-6 เส้น
ปลายเส้นจรดกับเส้นถัดไปก่อนถึงขอบใบ
แผ่นใบเกลี้ยงทั้ง 2
ด้าน
หรือด้านล่างอาจมีขนนุ่ม
ก้านใบสั้นมาก
หูใบระหว่างก้านใบเป็นรูปสามเหลี่ยม
1 คู่ อยู่ตรงข้ามกัน ดอกแยกเพศ
ก้านดอกสั้น
ดอกเพศผู้ออกเป็นกระจุก
มีกลิ่นหอม
กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอด
ยาว 2-3 มม.
ปากหลอดกว้างกว่าโคน
ปลายตัด
กลีบดอกสีขาวอมเหลือง
ติดกันเป็นหลอดยาว 0.7-1.3
ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ
เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ
2.5 ซม. เกสรเพศผู้ 5 อัน
ไม่มีก้านชูอับเรณู
อับเรณูรูปยาวเรียว
ติดอยู่ภายในหลอดดอก
ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ
ตามง่ามใบ ไม่มีกลิ่น
กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูประฆัง
ยาว 0.8-2 ซม. ปลายแยกเป็น 5
แฉก
กลีบดอกเหมือนกับดอกเพศผู้
รังไข่มีออวุลจำนวนมาก ผลรูปไข่หรือกลม
ยาว 2.5-7.5 ซม. ค่อนข้างแข็ง เมล็ดแบน
มีจำนวนมาก
ถิ่นกำเนิด : -
การกระจายพันธุ์ :
อินเดียและพม่า
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
:
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง และภาคเหนือ
สภาพนิเวศน์ :
ขึ้นเป็นกลุ่มหรือขึ้นประปรายในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.