หัวร้อยรู
Hydnophytum formicarum Jack, RUBIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่มอิงอาศัยอยู่บนต้นไม้ ลำต้นสูง 30-50 ซม. โคนโป่งออก กว้างยาว 15-20 ซม. สูง 5-10 ซม. ส่วนที่โป่งออกสีน้ำตาล เนื้อหนาคล้ายอวบน้ำ ภายในเป็นโพรงและมีช่องทะลุติดต่อถึงกันซึ่งเป็นที่อาศัยของมด ผิวด้านนอกเป็นคลื่นหยักลึกและเป็นมัน ถ้าโป่งมากผิวจะเป็นคลื่นตื้นๆ ใบหนา รูปรี กว้าง 3-4.8 ซม. ยาว 7-11 ซม. ปลายป้าน ก้านใบยาว 2-3 มม. ดอกออกเดี่ยวๆ แต่มักรวมกันเป็นกระจุกและอยู่รอบข้อ ขนาด 2-3 มม. ไม่มีก้านดอก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 แฉก ภายในหลอดดอกมีขน เกสรเพศผู้ 4 อัน ไม่มีก้านชูอับเรณู รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ผลรูปรี สีเขียว สุกแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดง ฉ่ำน้ำ ขนาด 5 มม.


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และฟิลิปปินส์


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นบนต้นไม้ที่อยู่ตามเชิงเขาชายทะเลและในป่าเชิงทรง (tidal forest) พบมากใกล้ริมทะเล


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.