กระทุ่มโคก
Mitragyna hirsuta
Havil., RUBIACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้ต้นขนาดเล็ก
ผลัดใบ ใบเดี่ยว
เรียงตรงข้าม
รูปไข่กว้างหรือเกือบกลม
กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-20 ซม.
ปลายมน
โคนป้านหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ
ด้านบนเกลี้ยง
ด้านล่างมีขนนุ่มสีน้ำตาล
ก้านใบยาว 1-3 ซม.
มีขนสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน
หูใบระหว่างก้านใบเป็นรูปไข่ปลายมนมีสันกลางนูนขึ้นมา
ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง
แต่ละกระจุกกลม
สีเหลือง
ออกตามปลายกิ่ง
กลุ่มหนึ่งมี 3 ช่อ
ช่อที่อยู่ตรงกลางมีก้านสั้นกว่าช่อที่อยู่ด้านข้างมาก
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ
ปลายหยักตื้นๆ กลีบดอก 5
กลีบ ติดกันเป็นหลอดยาว
ปลายหยักป้าน
ด้านนอกเกลี้ยง
ด้านในมีขนหนาแน่น ผลแห้งแตก
เล็กมาก
มีกลีบเลี้ยงติดอยู่
ถิ่นกำเนิด :
พืชแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การกระจายพันธุ์ :
พม่าและภูมิภาคอินโดจีน
การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย
: ภาคเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตกเฉียงใต้
ภาคกลาง
และภาคตะวันออกเฉียงใต้
สภาพนิเวศน์ : -
เวลาออกดอก : -
เวลาออกผล : -
การขยายพันธุ์ : -
ความเกี่ยวข้องกับประเพณี
วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ :
-
อ้างอิง : 1)
ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช
อักษร ก. กรุงเทพมหานคร:
เพื่อนพิมพ์.