กระท่อม
Mitragyna speciosa (Roxb.) Korth., RUBIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 5-11 ซม. ยาว 12-17 ซม. ปลายแหลม โคนป้าน แผ่นใบบาง ด้านล่างเห็นเส้นใบชัด เส้นแขนงใบข้างละ 8-11 เส้น ก้านใบยาวประมาณ 2.5 ซม. หูใบระหว่างก้านใบเป็นแผ่นคล้ายใบ กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 3-4 ซม. ปลายแหลม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกตามปลายกิ่ง มี 1-3 ช่อ ช่อกลางสั้นมาก แต่ละช่อประกอบด้วยดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสั้น ปลายมี 5 แฉก กลีบดอกเป็นหลอดยาว ปลายแยกเป็น 5 หยัก หลอดด้านในมีขน เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลเล็ก มีสันตามยาว 10 สัน เมล็ดมีปีก


ถิ่นกำเนิด : -


การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคมาเลเซีย


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคตะวันตกเฉียงใต้และภาคใต้


สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามริมน้ำ และปลูกกันทั่วไป


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : ในประเทศไทยการปลูกกระท่อมต้องอยู่ในความควบคุมของรัฐบาล ซึ่งได้มีการออกพระราชบัญญัติกระท่อม ห้ามมิให้มีการปลูกและมีไว้ในครอบครองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2486 เนื่องจากเห็นว่ากระท่อมเป็นพืชเสพย์ติด แต่สำหรับประเทศอื่นๆ มิได้ถือว่ากระท่อมเป็นพืชเสพย์ติด


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.