กระทุ่มหูกวาง
ชื่อพื้นเมือง
: กระทุ่มหูกวาง (ราชบุรี),
ตับควาย ตุ้มบึง
ตุ้มโป่ง ตุ้มหูกวาง
อ้อล่อหูกวาง (ภาคเหนือ),
ตับเต่า ตานควาย (อุบลราชธานี),
ตับเต่าน้ำ (นครพนม,
อุดรธานี), ตับเต่าใหญ่
ไม้ลาย (ปราจีนบุรี),
ละลาย (สุรินทร์), หลุมปัง
(สุราษฎร์ธานี), หูกวาง (พิษณุโลก,
กำแพงเพชร, สุโขทัย),
แหนตัน (เลย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neonauclea
sessilifolia (Roxb.) Merr.
ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก
สูง 5-8 ม.
ลำต้นค่อนข้างเปลา
เรือนยอดแผ่กว้าง
ค่อนข้างทึบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก
รูปรีแกมรูปไข่
ปลายและโคนมน
ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย
แผ่นใบหนา
หูใบระหว่างก้านใบ 1 คู่
ประกบกัน ร่วงง่าย
เหลือเฉพาะที่ยอด
รูปไข่หรือรูปลิ้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่นออกตามปลายกิ่งเป็นช่อเดี่ยวหรืออาจมีถึง
3 ช่อ
แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเล็กๆ
เป็นกระจุกแน่น ดอกเล็ก
สีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม
กลีบเลี้ยงติดกันเป็นหลอดหรือกรวยเล็กๆ
ปลายแยกเป็น 5 แฉก
กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอด
ปลายแยกเป็น 5 แฉก
เกสรเพศผู้ 5-6 อัน
ก้านเกสรเพศเมียยาวยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก
ผลสีเหลือง
รวมอัดกันกลม เมล็ดคล้ายรูปรี
มีปีกบางๆ
ประโยชน์ :
เนื้อไม้ละเอียด
เลื่อยไสกบตกแต่งง่าย
มีลายเนื้อไม้สวย
นิยมใช้ทำเครื่องแกะสลัก
ทำราง และพานท้ายปืน
โทษ : -