แกงเลียงใหญ่


ชื่อพื้นเมือง : กระดูกค่าง ปริกขาว (ตรัง), กริม (นครศรีธรรมราช), แกงเลียงใหญ่ มันปลา (สุราษฎร์ธานี), หมง (ภาคใต้), ตะไลขี้หมู (เชียงใหม่), เหมือดดาน (หนองคาย)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psydrax dicocca Gaertn.


ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 ม. แต่เมื่อขึ้นบนโขดหินริมทะเลมีขนาดเล็ก ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปรีแกมรูปใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนแหลม ขอบเรียบ หูใบระหว่างก้านใบ 1 คู่ รูปสามเหลี่ยม ช่อดอกแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามง่ามใบ ดอกเล็ก มีจำนวนมาก กลิ่นหอมเอียน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ติดกันเป็นรูประฆังขนาดเล็กมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเขียว ติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ผลออกบนช่อสั้นๆ มีจำนวนหลายผล แต่ละผลกลม มีเนื้อ สีเขียวเข้ม เมื่อสุกสีดำ มีเมล็ดแข็ง 2 เมล็ด


ประโยชน์ : ในมาเลเซียใช้รากบำบัดอาการโรคท้องร่วง


โทษ : -