กระดุมใบใหญ่
Spermacoce latifolia Aubl., RUBIACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกสองปี ลำต้นทอดแผ่ไปตามพื้นดิน ชูยอดขึ้น ยาว 10-60 ซม. ลำต้นสี่เหลี่ยม ตามเหลี่ยมแผ่เป็นปีก เกลี้ยงหรือมีขนสั้นห่างๆ ส่วนที่แตะพื้นจะแตกรากและยอดเป็นต้นใหม่ได้ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับหรือรูปรี กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 4-7.5 ซม. แผ่นใบมีขนประปรายทั้ง 2 ด้าน บางท้องที่ลำต้นและขอบใบสีแดง เส้นแขนงใบเห็นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 1-3 มม. หูใบระหว่างก้านใบ (interpetiolar stipule) โคนเป็นแผ่น สั้นมาก ปลายแยกเป็นเส้น 5-9 เส้น แต่ละเส้นยาว 2-4 มม. ดอกออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบเลี้ยงโคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 3 มม. ปลายแยก 4 แฉก ยาวประมาณ 2 มม. มีขนทั่วไป กลีบดอกเมื่อบานวันแรกสีฟ้าอ่อนหรือชมพูอ่อน ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ยาวประมาณ 5 มม. ปลายแยกเป็น 4 กลีบ กลีบรูปสามเหลี่ยม กว้างยาวประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้ 4 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง มีออวุลช่องละ 1 เม็ด ผลแห้ง แตกจากบนลงล่าง แข็ง เมล็ดสีน้ำตาลอมเหลือง รูปรี กว้าง 1-2 มม. ยาว 2-3 มม.


ถิ่นกำเนิด : พรรณไม้พื้นเมืองของอเมริกาเขตร้อน


การกระจายพันธุ์ : เขตร้อนทั่วโลก


การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : -


สภาพนิเวศน์ : พบมากเป็นวัชพืชในสวนยางพารา


เวลาออกดอก : -


เวลาออกผล : -


การขยายพันธุ์ : -


ความเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ : -


อ้างอิง : 1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.