กาสามปีก


ชื่อพื้นเมือง : กาจับหลัก ตีนนกผู้ มะยางห้าชั้น (ภาคเหนือ), กาสามซีก ตีนกา (ภาคกลาง), ตีนนก สมอตีนเป็ด สมอหวอง (ภาคตะวันออก)


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex peduncularis Wall. ex Schauer


ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE


ชื่อสามัญ : -


ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 ม. เปลือกสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม หรือดำ กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบประกอบแบบนิ้วมือ เรียงตรงข้าม มีใบย่อย 3 ใบ ด้านบนเรียบ หรือเป็นร่องตื้น มีขอบเป็นสันชัดเจน ผิวเรียบ หรือมีขนประปราย ใบย่อยรูปขอบขนานถึงรูปรี หรือรูปคล้ายใบหอก ปลาย และโคนเรียวแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบหนา ใบย่อยขนาดไม่เท่ากัน ช่อดอกออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเดี่ยวๆ หรือเป็นคู่ แตกแขนงเป็นคู่ตรงข้าม หรือเกือบตรงข้ามกัน แต่ละแขนงแตกแขนงย่อย เป็นคู่ๆ อีก 1-3 คู่ ปลายสุดของกิ่งเป็นช่อกระจุก มีใบประดับติดเป็นคู่ตรงจุดที่แตกกิ่ง ร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีใบประดับย่อยขนาดเล็ก 1 คู่ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนติดกันเป็นรูปกรวย ปลายเป็นแฉกสามเหลี่ยมเล็กๆ 5 แฉก แฉกกลางด้านล่างมักใหญ่กว่าแฉกอื่นๆ เกสรเพศผู้ 4 อัน สั้น 2 อัน ยาว 2 อัน รังไข่มี 3-4 ช่อง ผลกลม มีเนื้อหุ้มเมล็ดบางๆ เมื่อสุกสีแดง เมล็ดแข็งมาก


ประโยชน์ : เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างต่างๆ และใช้ในงานแกะสลักได้ดี ในปากีสถานใช้ใบอ่อนกินเป็นผัก และกินผลสุกด้วย ส่วนในอินเดียใช้น้ำต้มจากใบ และเปลือกเป็นยาลดไข้ น้ำคั้นจากใบเชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา


โทษ : -


ข้อมูลเพิ่มเติม


ชื่อวงศ์ / ชื่อวิทยาศาสตร์ / ชื่อสามัญ / ชื่อพื้นเมือง / กลุ่มการใช้ประโยชน์ / ข้อมูลพรรณไม้

สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน / โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ