ทองกวาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub. วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae ชื่อสามัญ : Bastard Teak, Flame of the Forest, Bengal kino ชื่ออื่น : กวาว ก๋าว (เหนือ) จอมทอง จ้า จาน (อุบลราชธานี) ทองธรรมชาติ (กลาง) ทองต้น (ราชบุรี)
ลักษณะทั่วไป : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำ แตกเป็นร่องตื้นๆ ใบ ประกอบแบบขนนก ออกสลับ มีใบย่อยยอดรูปไข่กลับ ปลายมน โคนสอบ ส่วนอีก 2 ใบ รู่ไข่ค่อนข้างกว้าง โคนเบี้ยว ดอก ใหญ่รูปดอกถั่ว สีเหลืองถึงแดงแสด ออกเป็ฯช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ยาว 2-15 เซนติเมตร กลีบดอก 5 กลีบ ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ฝัก รูปขอบขนาน แบน กว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร เมล็ด มี 1-2 เมล็ดที่ปลายฝัก ประโยชน์ : เปลือก ใช้ทำเชือกและกระดาษ ยาง แก้ท้องร่วง ใบ ตำพอกฝีและสิว ถอนพิษแก้ปวด ท้องขึ้น ริดสีดวง เข้ายาบำรุงกำลัง ดก ถอนพิษไข้ ขับปัสสาวะ ให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า เมล็ด ใช้ขับพยาธิตัวกลม บดให้ละเอียดผสมกับน้ำมะนาว ทาแก้คันและแสบร้อน ดอกให้สีส้มแดง ใช้ย้อมผ้า