เอื้องหมายนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Costus
speciosus (Koen.) Smith
วงศ์
:
Zingiberaceae
ชื่อสามัญ
: Crape ginger
ชื่ออื่น :
เอื้องดิน เอื้องช้าง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: พืชล้มลุก ลำต้นกลม อวบน้ำ
เจริญเติบโตเป็นกอไม่แตกแขนง
มีเหง้าอยู่ใต้ดินแตกกอเจริญเป็นต้นใหม่ได้
พุ่มต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร
ใบเป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบเวียนรอบลำต้น
ใบมีรูปร่างเรียวยาว ปลายใบแหลมฐานใบมน
โคนใบมีขน ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบมีสีเขียว ดอก
ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ปลายอดของลำต้น
แต่ละดอกย่อยมีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ
ดอกตูมจะมีใบประดับเป็นกาบสีแดงหรือสีน้ำตาลห่อหุ้ม
ดอกย่อยแต่ละดอกในช่อดอกจะติดกันแน่น
กลีบดอกส่วนโคนจะหลอมรวมกันเป็นรูปกรวย
ปลายกลีบดอกแผ่บานออกเป็นรูปปากแตร มีสีขาว
ใจกลางดอกมีสีเหลืองอ่อน ขอบกลีลดอกหยักเป็นคลื่น
ผลมีรูปร่างกลมมีเนื้อแข็งสีแดงมีกลีบเลี้ยง
เหลือติดอยู่ที่ผล เมล็ดมีสีดำเป็นมัน
พบขึ้นบริเวณชายป่าชุ่มชื้น เชิงเขา ริมน้ำ
หรือริมหนองบึง ทั่งทุกภาคของประเทศไทย
ขยายพันธุ์โดยการแตกหน่อและใช้เมล็ด
ประโยชน์ :
เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้ตกขาว
โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ขับพยาธิ แผลอักเสบบวม
ทำให้แท้ง
โทษ :
เหง้ามีพิษมากทำให้ท้องร่วง อาเจียน |