วัชพืช

 

 

ย้อนกลับ

 











 

มะกล่ำตาหนู
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Abrus precatorius  L.
วงศ์ : Leguminosae - Papilionoideae
ชื่อสามัญ :  -
ชื่ออื่น กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำเครือ มะกล่ำแดง มะแค็ก ไม้ไฟ ตากล่ำ เกมกรอม มะขามเถา ชะอมเทศ มะกล่ำตาแดง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาล้มลุก มักเลื้อยพันต้นไม้อื่น สูงถึง 5 เมตร ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แผ่นใบย่อยรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับ กว้าง 0.6-0.9 ซม. ยาว 1.3-2 ซม. ปลายและโคนมน ดอก สีชมพูแกมม่วง รูปดอกถั่ว ออกเป็นช่อตามซอกใบ ผล เป็นฝัก แก่แตกออกตามแนวยาว เมล็ดค่อนข้างกลม สีแดงสด รอบขั้วสีดำ ผิวเรียบเป็นมันแข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-5 มม.
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ : พบขึ้นทั่วไปตามป่าเปิดหรือในที่โล่ง ต่างประเทศพบตั้งแต่อินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประโยชน์ :  ราก ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไอและหวัด ใบมีสาร abrusosides ซึ่งมีความหวานมากกว่าน้ำตาล 30-100 เท่า และไม่มีพิษ เมล็ดมีสารพิษ ทำให้คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ทางเดินอาหารอักเสบ ตับและไตถูกทำลาย