-2-

1    2    3

   
 

          1.   มีต่อมขับเกลือ  (salt gland)  ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระดับความเข้มข้นของเกลือในพืช พบอยู่ทั่วไปในส่วนของใบ เช่น สบเล็บมือนาง  แสม  ลำพู  ลำแพน  และเหงือกปลาหมอ
         
2.  เซลล์ผิวใบ  มีผนังหนาเป็นแผ่นมันและมีปากใบ (stomata) ที่ผิวใบด้านล่าง มีหน้าที่สำคัญสำหรับป้องกันการระเหยของน้ำจากส่วนของใบ
         
3.  ใบมีลักษณะอวบน้ำ (succulent leaves)  โดยเฉพาะพวกไม้โกงกาง ลำพู ลำแพน จะเห็นได้ชัดกว่าไม้อื่น ใบอวบน้ำเหล่านนี้มีหน้าที่ช่วยเก็บรักษาปริมาณน้ำ
         
4.  ระบบรากที่แผ่กว้างและโผล่พ้นระดับผิวดิน มีหน้าที่ช่วยยึดและค้ำจุนลำต้นให้ตั้งอยู่ในดินเลนได้ เรียกว่า รากค้ำจุน เช่นรากของไม้โกงกาง  เหงือกปลาหมอ หรือรากค้ำจุนที่เป็นพูพอนของไม้โปรงและไม้ตะบูน และช่วยรับก๊าซออกซิเจนจากบรรยากาศโดยตรง เพื่อใช้ในขบวนการเผาผลาญอาหารของพืช เรียกว่า รากหายใจ เช่น รากของไม้แสม ลำพู ลำแพน หรือรากที่มีลักษณะคล้ายเข่าของต้นพังกา หัวสุม โปรงและฝาด นอกจากนี้ รากของไม้โกงกางและแสมที่เจริญเติบโตไม่ถึงพื้นดินที่เรียกว่า รากอากาศ ก็ช่วยในการหายใจของพืชด้วย

ป่าโกงกาง ป่าแสม

ป่าเสม็ด

ต้นตะบูน

 

          5.  ผลที่งอกขณะที่ยังอยู่บนต้นเรียกว่า vivipary ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า ฝัก ผลเหล่านี้หลังจากที่หลุดจากต้นแม่ลงสู่พื้นดินแล้ว จะสามารถเจริญเติบโตทางด้านความสูงอย่างรวดเร็ว
         
6.   ต้นอ่อนหรือผลแก่สามารถลอยตัวในน้ำ ทำให้มีการแพร่กระจายพันธุ์โดยทางน้ำได้
        
7.  ระดับแทนนิน  ในเนื้อเยื่อมีปริมาณค่อนข้างสูง  แต่จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด การปรับตัวลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกเชื้อราต่างๆ
         
8.  สามารถทนทานอยู่ได้ในสภาวะที่มีระดับความเข้มข้นของเกลือโซเดียมคลอไรด์ในใบสูง ทั้งนี้  เพื่อความอยู่รอดภายใต้สภาพความเค็มของน้ำทะเลได้
          พันธุ์ไม้ยืนต้นและไม้พุ่มเท่าที่สำรวจพบในปัจจุบันของประเทศไทยมีถึง 74 ชนิด (species)  อยู่ใน 53 สกุล (genera) รวมอยู่ใน 35 วงศ์ (family)  พันธุ์ไม้ที่ปรากฏเด่นในสังคม คือ โกงกางใบใหญ่ โกงกางใบเล็ก แสมดำ  แสมขาว ฝาดแดง ฝาดขาว พังกา  หัวสุม  โปรงขาว  โปรงแดง ลำพู  ลำแพน  ตาตุ่มทะเล โพทะเล  ตะบูนขาว ตะบูนดำ  พันธุ์ไม้พื้นล่างที่พบทั่วไปคือ เหงือกปลาหมอ  จาก  ชะคราม เป้งทะเล
          พันธุ์ไม้แต่ละชนิดจะขึ้นเป็นแนวเตหรือเป็นโซนที่ค่อนข้างแน่นอน เมื่อมองจากบริเวณชายฝั่งที่ติดน้ำลึกเข้าไปในบริเวณที่ตื้นเขินขึ้นไป  ลักษณะเช่นนี้เป็นเอกลักษณ์ของป่าชายเลน  ซึ่งแตกต่างไปจากป่าบกทั้งหลาย การที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างกันในลักษณะการออกรากและการเจริญเติบโตของลูกไม้ ซึ่งพันธุ์ไม้แต่ละชนิดมีความสามารถขึ้นอยู่ในบริเวณที่มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ระหว่างระดับน้ำทะเลต่ำสุดและระดับน้ำทะเลสูงสุด

 

อ่านต่อ