ถั่วแปบช้าง
กันภัยมหิดล
 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Afgekia sericea   Craib
วงศ์ :  Leguminosae - Papilionoideae
ชื่อสามัญ :  -
ชื่ออื่น :  กันภัย (สระบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เลื้อย/ไม้เถา ทุกส่วนมีขนสีขาว ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกสลับ ใบย่อย 15-17 ใบ รูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมรูไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ท้องใบมีขนสีขาวเป็นมัน หนาแน่น  ดอก  แบบดอกถั่ว สีชมพูแกมม่วง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ใบประดับสีชมพูเรียงกันแน่นที่ปลายช่อ ใบประดับมีขนนุ่ม กลีบดอก 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมกันเป็นรูปถ้วย เกสรเพศผู้ 10 อัน ก้านเกสรเชื่อมกัน ผล เป็นฝักรูปขอบขนาน หนา มีขนนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม เมื่อแก่แตกได้ เมล็ด 2-3 เมล็ด รูปไข่ มีลาย ออกดอกฤดูฝน
นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย พบทั่วไปตามป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้ง
ขยายพันธุ์
ด้วยเมล็ด

 


 

 

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Afgekia mahidolae   B.L. Burtt & Chermsir.
วงศ์ :  Leguminosae - Papilionoideae
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น :  กันภัย (กาญจนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: ไม้เลื้อย ลำต้นมีขนประปราย  ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ออกสลับ ใบย่อย 9-11 ใบ รูปรีหรือรูปไข่กลับ แผ่นใบบาง ท้องใบมีขนหนาแน่นกว่าหลังใบ ปลายใบมนและมีติ่งสั้น โคนใบมนก้านสั้น   ดอก  รูปดอกถั่ว สีม่วง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง โคนก้านดอกมีใบประดับย่อยสีขาวร่วงง่าย กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบตั้ง ด้านในมีสีม่วง ที่โคนกลีบมีแถบสีเหลือง เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนเชื่อมกัน 9 อัน ออกดอก เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน ผล เป็นฝักแบนรูปขอบขนาน เมื่อแก่สีน้ำตาล แตก 2 ซีก เมล็ดรูปไข่ มีลาย
นิเวศวิทยา :  มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย เป็นพันธุ์ไม้หายาก ขึ้นตามภูเขาหินปูน ปลูกได้ทั่วไป ตั้งชื่อขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ขยายพันธุ์
ด้วยเมล็ด

 


 

ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด  ระหว่างถั่วแปบช้าง และกันภัยมหิดล คือ ดอกของถั่วแปบช้างมีใบประดับสีชมพูเรียงกันแน่น ในขณะที่ดอกของกันภัยมหิดล มีใบประดับสีม่วง

HOME