หน้า  1   2   3   4  

-3-

อ่านหน้าต่อไป

 
 
   

ข้อปฏิบัติในการเข้าอบอาบสมุนไพร

  1. ควรใส่เสื้อผ้าที่สบายๆ และน้อยชิ้น เช่น หญิง ผ้าถุงกระโจมอก ผู้ชาย กางเกงขาสั้นหรือผ้าขาวม้า

  2. ผ้าเช็ดตัว ควรมีผ้าขนหนูผืนเล็กๆ สำหรับปิดตาขณะนั่งอบสมุนไพร

  3. ก่อนเข้าอบ อาบน้ำ ควรใช้น้ำลูบตัวให้ทั่ว

  4. อุณหภูมิในห้องอบ แรกอบควรใช้อุณหภูมิต่ำ และเพิ่มขึ้น อุณหภูมิไม่ควรเกิน 40 ถึง 42 องศาเซลเซียส ใช้เวลาอบทั้งหมดไม่เกิน 30 ถึง 35 นาที แต่ทุกๆ 10 นาที ต้องออกมานั่งพักและนวดน้ำมัน และอื่นๆ

  5. เมื่ออบได้ระยะเวลาหนึ่ง ต้องออกมาจากห้องเพื่อมานวดน้ำมัน ควรดื่มน้ำอุ่น เพราะขณะอบ ร่างกายจะสูญเสียน้ำไปมาก

  6. ควรใช้น้ำมันมะกอกโอลีฟ ทาให้ทั่วตัวมีบริการนวดเบาๆ ให้ทั่ว แล้วจึงเข้าอบต่อไป

  7. ขณะอบสมุนไพร ควรบริหารร่างกายเล็กน้อย เช่น บีบ นวด บริเวณแขน ขา หรือบริเวณที่ปวดเมื่อยด้วยตนเอง

  8. อบเสร็จ นั่งพักให้เหงื่อแห้ง แล้วอาบน้ำเพื่อชำระล้างเหงื่อไคลที่ร่างกายขับออกมาและเพื่อช่วยให้เส้นเลือดหดตัวลงเป็นปกติ

     

ผู้ที่จะเข้าอบอาบสมุนไพรควร

  1. วัดความดันก่อนและหลังการอบ

  2. ตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยใช้หูฟัง

  3. ชั่งน้ำหนักก่อนและหลังอบ

     
     

การเตรียมสมุนไพรสำหรับใช้ในการอบอาบ

          ควรใช้ของสด จะมีคุณภาพดีกว่าสมุนไพรแห้ง เพราะวิธีการทำให้แห้งจะทำให้คุณภาพของสมุนไพรลดลง โดยเฉพาะพวกที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นสารสำคัญ ถ้าจัดซื้อบางครั้งอาจได้สมุนไพรที่เก่า แมลงกัดกิน เสื่อมคุณภาพ สมุนไพรที่ใช้สำหรับต้มอบอาบสมุนไพรประกอบด้วยกลุ่มใหญ่ 4 กลุ่ม และกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่ม

          กลุ่มที่ 1   สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม สมุนพรกลุ่มนี้มีสารสำคัญเป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะสูดดมเข้าทางจมูก จะช่วยฆ่าเชื้อโรคในทางเดินหายใจ ลดอาการเป็นหวัดคัดจมูก ช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อาการดีขึ้น บางชนิดช่วยรักษาโรคผิวหนัง ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เช่น

  • เหง้าขมิ้น ข่าแก่ ใบหนาด ใบสำมะดีงา  ฯลฯ ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้

  • เปราะหอม หัวหอม ฯลฯ ช่วยทำให้หายใจสะดวกขึ้น ช่วยทำให้คนที่แพ้อากาศบรรเทาอาการลง

  • เปลือกชะลูด เปลือกอบเชย แฝกหอม ผิวมะกรูด ช่วยบำรุงหัวใจ คลายเครียด ทำให้ปลอดโปร่ง

          กลุ่มที่ 2  สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว  สุมนไพรกลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ เป็นตัวช่วยชะล้างสิ่งสกปรก ยังช่วยให้ผิวหนังเพิ่มความต้านทานเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ผิวหนังสะอาดและลื่น สุมนไพรกลุ่มนี้ได้แก่ ใบและฝักส้มป่อย ใบมะขาม ใบส้มเสี้ยว ผลมะกรูดผ่าซีก รากมะดัน ฯลฯ

          กลุ่มที่ 3  เป็นสารประกอบที่ระเหิดได้  เมื่อถูกความร้อนจะมีกลิ่นหอม ได้แก่ การบูร พิมเสน การใส่อย่าใส่มากเกินไป เพราะถ้าใส่มากอาจเข้าตาผู้เข้าอบสมุนไพร ทำให้ตาอักเสบได้
          การบูรและพิมเสน จะได้จากต้นสมุนไพร เป็นการบูรและพิมเสนจากธรรมชาติ แต่ราคาจะแพงมาก ปกติที่ขายกันในท้องตลาด จะได้จากการสังเคราะห์ ราคาจะย่อมเยากว่า
          สำหรับพิมเสนหรือการบูร จะไม่นำไปต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เพราะความร้อนจะทำให้สารระเหิดไปหมด จะใส่เมื่อได้จัดที่นั่งให้คนที่จะเข้าอบเรียบร้อยแล้ว พิมเสนจะมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ สำหรับการบูรจะช่วยลดอาการหวัดคัดจมูก และช่วยรักษาโรคผิวหนังด้วย