พื้นที่เพาะปลูกมะกอกโอลีฟ

 next >>


มะกอกโอลีฟ
พันธุ์พื้นเมืองเหมาะกับภูมิอากาศร้อน ซึ่งเป็นลักษณะตามธรรมชาติของประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน และในปัจจุบัน มะกอกโอลีฟพันธุ์พื้นเมืองก็เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเพาะปลูกกันมากบนดินแดนแห่งนี้ ทางซีกโลกเหนือตั้งแต่เส้นศูนย์สูตรที่ละติจูด 30 -45 ก็พบว่ามีมะกอกโอลีฟอยู่เช่นกัน แต่มะกอกโอลีฟที่เติบโตในแหล่งอื่นนั้น มักจะให้ผลไม่ดีนักเนื่องจากในช่วงฤดูหนาวอาจมีอุณหภูมิที่สูงเกินไปหรือไม่ก็ต่ำเกินไป ส่วนทางซีกโลกใต้นับจากเส้นศูนย์สูตร พบว่ามีป่ามะกอกโอลีกระจุกตัวอยู่มากบริเวณตำแหน่งละติจูดเดียวกัน
          ต้นมะกอกฝรั่งทนต่อความหนาวเย็นได้ถึง -8 หรือ -10 องศาเซลเซียส และอาจทนได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่านี้ เช่น ถ้าระดับความเย็นมิได้ปกคลุมอยู่เป็นเวลานานหลายชั่วโมง และมีไออุ่นเพียงพอที่จะทำให้หิมะละลายไปอย่างช้าๆ รวมทั้งต้นมะกอกจะต้องไม่อยู่ในช่วงการเจริญเติบโตอีกด้วย

          ในช่วงเจริญเติบโตของต้นมะกอกโอลีฟนั้น จะมีความอ่อนไหวต่อระดับอุณหภูมิต่ำๆ อย่างมาก เพราะความหนาวเย็นมีส่วนทำให้กิ่งอ่อนและกิ่งแขนงเหี่ยวเฉาไป  และอาจลามไปถึงส่วนของลำต้นและกิ่งใหญ่อีกด้วย การทนต่ออากาศหนาวของต้นมะกอกเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน ทั้งนี้ต้นมะกอกจะให้ผลดีเมื่ออุณหภูมิใกล้ 0 องศาเซลเซียส เพราะที่ระดับอุณหภูมิดังกล่าวจะช่วยให้มะกอกเกิดการพักตัว นอกจากจะทนต่อความหนาวเย็นแล้ว ต้นมะกอกโอลีฟยังทนต่อความร้อนในช่วงฤดูร้อนด้วยเช่นกัน และแม้ว่าดินจะขาดความชุ่มชื้น แต่ต้นมะกอกก็สามารถจะปรับตัวโดยชะลอการเจริญเติบโตไว้ชั่วคราว
          พื้นที่ทางภูมิศาสตร์เป็นแหล่งที่มีต้นมะกอกโอลีฟชุกชุมนั้นเป็นบริเวณที่เส้นละติจูดกับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลมีความสัมพันธ์ในเชิงตรงข้าม อย่างเช่น ในประเทศสเปน มะกอกจะขึ้นได้ดีบริเวณต่างๆ ดังนี้คือ ที่แคว้น Rioja ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 250 เมตร ที่แค้วน Castilla-La Mancha เหนือระดับน้ำทะเล 700 เมตร และที่เมือง Jean และ Garnada  เหนือระดับน้ำทะเล 1,200 เมตร ในประเทศโมร็อกโก ต้นมะกอกโอลีฟมีอยู่ชุกชุมที่เทือกเขาแอทลาส บริเวณ 1600 -1700 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ส่วนที่ประเทศอาร์เจนตินา ก็พบแหล่งของต้นมะกอกที่บริเวณเหนือระดับน้ำทะเล 200 เมตร
          ในบริเวณที่มะกอกโอลีฟขึ้นหนาแน่นนั้นมีอยู่หลายแห่งเช่นกันที่พบว่ามีลักษณะจำเพาะทางภูมิอากาศ กล่าวคือ ตอนบนของพื้นที่มีฝนตกน้อย และฝนตกเป็นหย่อมๆ รวมถึงในฤดูร้อนก็มิได้เกิดการก่อตัวของพายุฝน มีสภาพอากาศเช่นนี้ติดต่อกันนานหลายปี เพราะเนื่องจากหน้าดินไม่ถูกชะไปกับพายุฝน ที่เมืองซฟาคซ์ ( Sfax ) ในตูนิเซียนั้น พื้นที่บางแห่งในบริเวณที่เพาะปลูกมีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยเพียงแค่ 180 มม. ต่อปีเท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่าปีที่แห้งแล้งแทบจะไม่มีฝนเลย ที่เมืองมาราเกซ ( Marrakesh ) ในโมร็อกโก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 230 มม. และต้นจะเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่มีแหล่งน้ำ มีระบบชลประทานรองรับเท่านั้น แต่ขณะเดียวกัน พื้นที่บางแห่งในอิตาลีและยูโกสลาเวีย ก็มีมะกอกโอลีฟขึ้นหนาแน่นเช่นกัน ถึงแม้นว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีจะสูงถึง 900 มม. ก็ตาม กล่าวโดยสรุปคือ ลักษณะของผิวดินและชั้นใต้ผิวดิน รวมทั้งแนวลาดชันของพื้นที่นั้นๆ เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่มีผลต่อการปรับตัวของต้นมะกอก เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต