จะเริ่มตัดแต่งตั้งแต่ต้นสูงประมาณ 40 เซนติเมตร โดยจะตัดแต่งให้เหลือกิ่งเดียวให้ต้นตั้งตรงในการตัดกิ่งช่วงนี้จะไม่ริดใบบริเวณลำต้นทิ้ง และจะทำการตัดแต่งเรื่อย ๆ จนด้านล่างมีความสูง 1-1.20 เมตร ในการปลูกควรใช้กิ่ง 1 ปีในการปลูก ไม่ควรใช้กิ่งที่มีอายุเยอะๆในการปลูกเนื่องจากรากจะพันกันในถุงทำให้ต้นไม่เจริญ ถึงเจริญก็ไม่ดีจะให้ผลผลิตน้อย เมื่อต้นเจริญถึงปีที่ 3 การตัดแต่งกิ่งก็จะเหลือ 2-3 ปี ต่อครั้ง กิ่งที่แยกออกไปจากต้นหลักจะมี 2-3 กิ่งเท่านั้น และความสูงจะให้สูงได้ประมาณ 4-5 เมตร เพื่อความสะดวกในการเก็บและดูแล รูปทรงของพุ่มในทางปฏิบัติแล้วควรตัดให้มีแสงผ่านอย่างทั่วถึง เนื่องจากแสงมีความสำคัญต่อผลผลิต บริเวณที่ถูกแสงมากจะให้ผลผลิตมากตามไปด้วย ส่วนบริเวณที่มีลมพัดแรงก็จะทำการตัดกิ่งตรงกลางออกเพื่อให้ลมผ่านได้ง่ายเป็นการลดแรงปะทะ และมะกอกโอลีฟที่มีการตัดแต่งกิ่งก็จะให้ผลผลิตดีกว่าต้นที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่งเลย

การตัดแต่งต้นมะกอกโอลีฟโดยทั่วไปมี 4 ลักษณะ คือ
1. การตัดแต่งต้นที่มีอายุน้อย ต้นมะกอกโอลีฟที่มีอายุน้อยหรือมีความสูงไม่เกิน 1.5 เมตร ซึ่งเป็นระยะการเจริญเติบโตที่ยังไม่ให้ผลผลิต ไม่ควรตัดแต่งมากนัก การตัดแต่งควรทำเพียงเพื่อส่งเสริมให้ต้นมะกอกโอลีฟมีรูปทรงต้นที่ดี ไม่ให้แตกกิ่งก้านมากเกินไปอย่างไร้ทิศทางและกำจัดกิ่งระดับล่าง ๆ
2. การตัดแต่งที่มีอายุปานกลาง ต้นมะกอกโอลีฟที่เริ่มต้นใหญ่ขึ้น หรือมีความสูงเกินกว่า 1.5 เมตา หรือเริ่มให้ผลผลิต จำเป็นต้องมีการตัดแต่งรูปทรงต้นให้เหมาะสม โดยคงกิ่งก้านหลักไว้ 2-3 กิ่ง ภายหลังการตัดแต่งสำหรับให้แตกยอดใหม่ในปีต่อไป
3. การตัดแต่งต้นที่มีอายุมาก ต้นมะกอกโอลีฟที่มีอายุมากแล้ว จำเป็นต้องได้รับการตัดแต่ง เพื่อให้มีการสร้างกิ่งก้านอย่างต่อเนื่อง และเพื่อให้มีผลผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งปกติจะทำการตัดแต่งภายหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว คือระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงปลายเดือนพฤษภาคม
- การได้รับแสงแดดของต้นมะกอกโอลีฟ ใบของต้นมะกอกโอลีฟจะต้องได้รับแสงมากที่สุด
- สัดส่วนระหว่างใบและลำต้น(รวมทั้งกิ่ง) จะต้องให้มีสัดส่วนสูงที่สุด เพื่อให้ต้นมะกอกโอลีฟมีใบมากที่สุด
- การระบายอากาศในเรือนพุ่ม จะต้องให้มีการหมุนเวียนของอากาศภายในเรือนพุ่มดี พุ่มใบต้องไม่หนาทึบ
- สัดส่วนระหว่างใบกับราก ต้องไม่ตัดแต่งมากเกินไปจนกระทั่งเกินสมดุลย์
4. การตัดแต่งเพื่อสร้างยอดรุ่นใหม่ ต้นมะกอกโอลีฟที่มีอายุนานมากจะเริ่มให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ การแตกยอดและกิ่งก้านใหม่น้อย จำเป็นต้องมีการตัดแต่งเพื่อให้มีการสร้างยอดรุ่นใหม่บนต้น

 
 l โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ l กิจกรรมโครงการ l สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน l ข้อมูลพรรณไม้ l เอกสารโครงการ l โครงการทดลองปลูกพืชพรรณ l
 l Home l Webboard l Guestbook I RSPG e-Mail l Web Links สำนักงาน อพ.สธ. I ชมรมคณะปฏิบัติงานวิทยาการ I หอมกลิ่นดอกไม้ I
  สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สวนจิตรลดา ถ.ราชวิถี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๓
โทร. ๐-๒๒๘๒-๑๘๕๐, ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕ โทรสาร ๐-๒๒๘๒-๐๖๖๕
E-mail : admin@plantgenetics-rspg.org
 
 
 
  สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๔ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๓๗
ห้ามนำข้อมูลของเครือข่ายนี้ ไปเผยแพร่ต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร