ฟักทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์   Cucurbita moschata  Duchesne
วงศ์ :    Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ : Pumpkin, Cushaw, Winter squash
ชื่ออื่น :  
หมากอึ (ภาคอีสาน) มะฟักแก้ว ฟักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว หมักอื้อ (เลย) หมากฟักเหลือง (แม่ฮ่องสอน) น้ำเต้า (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป : ฟักทองเป็นพืชล้มลุกปีเดียว ต้นเป็นเถาเลื้อยไปตามดินและมีหนวดยาว ที่ข้อปลายหนวดแยก 3 - 4 แฉก ลำต้นอ่อนมักเป็น 5 เหลี่ยม หรือกลม ใบมีขน คายมืออยู่ทั่วไป เนื้อใบนิ่ม ใบรูปร่างคล้ายรูป 5 - 7 แฉก หรือรูปร่างเกือบกลม ริมใบมีหยักเว้าลึก 5 - 7 หยัก ใบกว้าง 10 - 20 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ดอกมีดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ ผลมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันตามพันธุ์ อาจมีรูปร่างตั้งแต่กลมจนถึงค่อนข้างแป้น ผิวมักเป็นตุ่มนูนและหยักเป็นร่อง เนื้อในผลมีสีเหลืองจนถึงเหลือง อมส้ม เหลืองอมเขียว เมล็ดมีจำนวนมาก รูปร่างคล้ายรูปไข่แบน
ประโยชน์
: ใช้เป็นอาหาร ยอดอ่อน ใช้แกงกับเห็ดไข่เหลือง เห็นไข่ ขาวหรือเห็ดโคน แกงแคร่วมกับผักชนิด ต่าง ๆ หรือผัดกับไข่ ลูกอ่อน แกงกับหน่อ ไม้ยอดอ่อน ผลอ่อน นึ่งรับประทาน เป็น ผักจิ้มกับน้ำพริก ผลแก่ แกงบวด ผัดกับไข่ ทำขนมบวดชี แต่งสีอาหาร  คุณค่าทางโภชนาการ  เนื้อฟักทองมีวิตามินเอสูงมาก ส่วนที่กิน ได้ 100 กรัมมีวิตามินเอ 2.458 iU. มี ฟอสฟอรัส แคลเซียม มีวิตามินซี แป้ง สารสีเหลือง โปรตีน และอื่น ๆ ใบอ่อน มีวิตามินสูงเท่ากับในเนื้อ มีแคลเซียม และ ฟอสฟอรัสสูงกว่าในเนื้อ และมีสารอ่อน ๆ ดอกมีวิตามินเอ ธาตุแคลเซียม และฟอสฟอรัส มีวิตามินซีเล็กน้อย เมล็ดมีน้ำมัน แป้ง ฟอสฟอรัส โปรตีน วิตามิน  ใช้เป็นยา เมล็ด ขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะ และ บำรุงร่างกาย ราก บำรุงร่างกาย แก้ไอ ถอนพิษของฝิ่น น้ำมันจากเมล็ด บำรุง ประสาท เยื่อกลางผล พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวดบวมอักเสบ