มะพูด

ชื่อวิทยาศาสตร์
Garcinia vilersiana  Pierre
วงศ์ :  Guttiferae
ชื่ออื่น :
 ไข่จระเข้ ตะพูด (จันทบุรี) จำพูด (กลาง) ปราโฮด (เขมร-สุรินทร์) ปะหูด (เหนือ) พะวาใบใหญ่ (จันทบุรี ชลบุรี) มะพูด (กลาง ,ใต้) ส้มปอง, ส้มม่วง (จันทบุรี)

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นพุ่มขนาดกลาง สูงราว 15 เมตร ใบรูปหอกโตปลายทู่ หรือไข่ยาวปลายสอบหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียวเข้ม ดอกเล็กเป็นช่อเล็กๆ ก้านสั้น กลีบทรงกลมหนา สีเหลืองอมเขียว ผลกลมเรียบผิวมัน ปลายลูกมีฐานดอกเล็กๆติดอยู่ สีเขียว สุกสีเหลือง เนื้อสีเหลือง รสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ด 2-5 เมล็ด เกิดตามป่าดงดิบแล้ง ป่าโปร่งทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ประโยชน์
: น้ำคั้นจากลูก รสเปรี้ยวอมหวาน แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ราก รสจืด แก้ไข้ แก้ร้อนใน ถอนพิษผิดสำแดง  รากของมะพูดให้สีเหลืองอมเขียว  หรือออกไปทางตองอ่อน (กระดังงา)