ตาล

ชื่อวิทยาศาสตร์
Borassus flabellifer  L.
วงศ์ :  Palmae
ชื่อสามัญ : Palmyra palm, Lontar palm ,Fan palm, Brab palm
ชื่ออื่น :
ตะนอด (เขมร) โหนด (ใต้) ตาลโตนด ตาล ตาลใหญ่ (กลาง) ถาล (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)  ทอถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตาลนา ปลีตาล(เชียงใหม่)

ลักษณะทั่วไป : ลักษณะทั่วไป ตาล (ตะโหนด) เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ลำต้น เดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม – ดำ ซึ่งจะมีกาบขอบใบติดอยู่ประมาณ 5 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง มีเสี้ยนสีดำอัดกันแน่นด้านในสูงประมาณ 15 เมตร และจะมีใบออกที่ยอด ลักษณะ ใบ คล้ายพัดปลายใบแหลมสีเขียว ระหว่างใบจะมีก้านใบแข็งและเชื่อมติดกันคล้ายรูปตัววี ลักษณะก้านใบสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เช่นเดียวกับใบขอบก้านใบคล้ายฟันเลื่อย แต่จะป้านกว่า ความยาวประมาณ 1.5 – 2 เมตร การเรียงตัวของใบอัดกันแน่นเป็นเกลียว เมื่อใบแก่เต็มที่จะร่วงหล่นทั้งก้านและใบ รสชาติ รสหอมสุขุม
ประโยชน์
น้ำหวานจากงวงตาลนำมาเป็นน้ำตาลมะพร้าว ทำเครื่องดื่มที่ เรียกว่าน้ำตาลเมา เนื้อจากผลมีสีเหลืองใช้แต่งสีอาหาร อาทิ ขนมตาล เมล็ดยังอ่อนกินเป็นอาหารหวาน ที่เรียกว่า ลอนตาล เมล็ดแก่เมื่อนำมาเพาะให้งอกภายในเมล็ดมีคัพภะ เรียกว่า จาวตาลนำมาเชื่อมกินเป็นของหวาน ใบมุงหลังคา ลำต้นใช้ทำเสาหรือหลักสำหรับจอดเรือ