พืชมีพิษ


   

 

 





กลับหน้าหลัก
HOME

 
           ย้อนกลับ
 

 

  

 

 

 



 

หวายตะค้าทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์
: Calamus caesius Blume
วงศ์ : Palmae
ชื่อสามัญ
: Rattan
ชื่ออื่น
: รอแต๊ะสะกอง กาแต๊ะสะกอง โรตันเซละ (มลายู-ภาคใต้) หวายตะคล้าทอง หวายตะค้าทอง (นราธิวาส)

 

 

 

 

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : หวาย (rattan) เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวพบในป่าเขตร้อน เป็นชื่อรวมเรียกพวกปาล์มเลื้อย (climbing palm) ซึ่งลำต้นเป็นเป็นเถาเนื้อแข็งเลื้อยทอดไปตามดิน และปีนป่ายเกาะไปตามต้นไม้อื่นๆ มีหลายชนิด หวายตะค้าทอง เป็นหวายคุณภาพดีที่ใกล้สูญพันธ์ จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองและอนุรักษ์ไว้
                หวายตะค้าทองเป็นหวายขนาดเล็กถึงขนาดกลางขึ้นเป็นกอ กาบหุ้มลำเมื่อแห้งมีสีเหลืองซีด เมื่อสดมีสีเขียว และมีขุยสีขาวทั่วไป มีหนามรูปสามเหลี่ยม มีสีเดียวกับกาบหุ้มลำหรือมีสีน้ำตาลออกดำกระจายห่าง ๆ กันอย่างสม่ำเสมอ และมีหนามขนาดเล็ก ปลายหนามสีดำ กระจายแทรกอยู่ระหว่างหนามขนาดใหญ่ปลายหนามชี้ขึ้นหรือตั้งฉากกับลำต้น กาบหุ้มลำเมื่อแห้งปรากฏเห็นลายเส้นตลอดความยาว knee เห็นชัดเจน เกลี้ยงไม่มีหนาม ไม่มีก้านใบ ทางใบกลมหรือเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย มีหนามปลายสีดำทางด้านล่างขึ้นอยู่เดี่ยว ๆ ห่างกันเป็นระยะ ๆ ตลอดทางใบ cirrus มีหนามรูปเล็บเหยี่ยวปลายสีดำ เรียงเป็นกลุ่ม ๆ ขึ้นที่ทางใบตอนปลายจนถึง cirrus ใบย่อยรูปยาวรี ขอบใบมีหนามสีดำขนาดเล็กยาว ผิวใบย่อยเกลี้ยงทั้งสองด้าน ท้องใบมีขุยสีขาวนวลและมีสีจางกว่าหลังใบ ใบย่อยแต่ละข้างของทางใบ เรียงตัวแบบเป็นกลุ่ม ๆ แบบสลับหรือเยื้องกัน ผลค่อนข้างกลมมีสีเหลืองเมื่อแห้ง ปลายผลแหลมยื่นออก สันเกล็ดหุ้มผลเป็นร่อง

ประโยชน์ : เป็นไม้ที่มีคุณค่าสูงทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งนี้เพราะหวายสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างมากมายโดย เฉพาะผิวหวายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำหัตถกรรมเครื่องจัก สานการทำเครื่องเรือนและใช้ผูกมัดได้เหมือนเชือก ลำหวายใช้ ทำบ้านเรือน คุณสมบัติที่ดีของหวายคือมีความเหนียว แข็งแรงทนทาน และยืดหยุ่นได้ดีกว่าไม้ไผ่ สำต้นหวายตันสามารถดัดโค้งงอได้ ด้วยการผ่านความร้อน

 

ที่มาของข้อมูล

 


www.rspg.thaigov.net