ในยุคประวัติศาสตร์อย่างยุคทองแดงและยุคทองสัมฤทธิ์
( Chalcolithic period and the Bronze Age ) ที่ประเทศสเปนอีกด้วย
จากหลักฐานเหล่านี้จึงเห็นได้ว่า
มะกอกโอลีฟเป็นพันธุ์ไม้ที่อยู่รอดมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานตั้ง
12,000 ปีที่แล้ว
สำหรับมะกอกป่านั้น
มีแหล่งกำเนิดจากแถบเอเซียไมเนอร์
เป็นแหล่งที่มีมะกอกป่าขึ้นอยู่ชุกชุมในป่าทึบ
สันนิษฐานว่าชาวอนาโตเลียเป็นผู้นำเอามะกอกป่าจากซีเรียไปแพร่พันธุ์ในกรีซ
( De Candolle, 1883 )
แต่ก็ยังมีข้อสมมติฐานอื่นอีกเช่นกันที่ระบุว่าแหล่งกำเนิดของมะกอกป่ามาจากแหล่งอื่นๆ
อีกมากมาย อาทิ อียิปต์ตอนล่าง
นูเบีย* เอธิโอเปีย
บ้างก็ระบุว่ามาจากแถบเทือกเขาแอทลาส
และบางส่วนของยุโรป
ด้วยข้อสมมติฐานดังกล่าว
Caruso
จึงเชื่อว่าพื้นถิ่นของมะกอกป่าก็คือรอบๆ
อ่าวเมดิเตอร์เรเนียนนั่นเอง
และกล่าวได้ว่าแหล่งกำเนิดของมะกอกบ้านที่มีการเพาะปลูกกันเมื่อราวหกพันปีก่อนนั้น
ก็คือเอเซียไมเนอร์นั่นเอง
ชนเผ่าอารยธรรมโบราณที่ไม่คุ้นเคยกับพันธุ์ไม้มะกอกโอลีฟนั้นเห็นจะมีเพียงชาวแอสซีเรียนและชาวบาบิลอนเท่านั้น
ในปัจจุบัน
ดินแดนที่เป็นถิ่นกำเนิดของมะกอกโอลีฟ
นับจากอาณาบริเวณคอร์เคซัสจรดที่ราบสูงอิหร่าน
รวมไปถึงฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านซีเรียและปาเลสไตน์
( เอเซอร์โบ- Acerbo ) นั้น
ผืนดินสองแห่งสุดท้ายที่กล่าวมาจัดว่าเป็นแหล่งที่มีการเพาะปลูกมะกอกโอลีฟอย่างเป็นล่ำเป็นสันมากที่สุด
และจากที่นี่เอง
มะกอกก็ได้แพร่ขยายไปถึงเกาะไซปรัส
ข้ามไปจนถึงดินแดนอนาโตเลีย
หรือจากเกาะครีดข้ามไปถึงอียิปต์
ในช่วง 1,600 ปีก่อนคริสตกาล
ชาวฟีนีเซียได้เริ่มเพาะพันธุ์ไม้มะกอกโอลีฟไปทั่วผืนดินน้อยๆ
บนเกาะกรีซ
ต่อมาภายหลังในช่วง 1,400 - 1200
ปี ก่อนคริสตกาล
จึงเริ่มมีการนำเอาต้นมะกอกเข้ามาสู่กรีซแผ่นดินใหญ่
และ ณ ดินแดนแห่งนี้เอง
การเพาะพันธุ์มะกอกได้เพิ่มทวีขึ้นเรื่อยๆ
จนกระทั่งในช่วง 400
ปีก่อนคริสตกาล
เมื่อรัฐบุรุษแห่งกรุงเอเธนส์ได้ออกกฎข้อบังคับในเรื่องการเพาะปลูกมะกอกโอลีฟขึ้น
ต่อมาพันธุ์พืชชนิดนี้ก็ได้กลายเป็นพืชที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง
|