



|
กร่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Ficus
altissima Blume
ชื่อพ้อง : F. laccifera
Roxb.
วงศ์ :
MORACEAE
ชื่อสามัญ
:
ชื่ออื่น :
ไทรทอง (นครศรีธรรมราช) ลุง (เชียงใหม่, ลำปาง)
ฮ่างขาว ฮ่างหลวง ฮ่างเฮือก (เชียงราย) ไฮคำ
(เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งต่ำ
เรือนยอดกว้าง มียางขาว และมีรากอากาศ ส่วนต่างๆ
เมื่อยังอ่อนมีขนสั้นประปราย แต่จะร่วงไปในที่สุด
ทำให้ลำต้น กิ่ง และใบ เกลี้ยง
ยกเว้นด้านนอกของหูใบมีขนอ่อนๆ ใบ เดี่ยว
เรียงเวียนสลับรูปรีหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง
4-10 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายมนเป็นติ่งแหลมสั้นๆ
โคนค่อนข้างมน ขอบเรียบ แผ่นใบหนา เส้นใบออกจากโคนใบ
3-5 เส้น เส้นแขนงใบข้างละ 5-6 เส้น ก้านใบยาว 2.5-3.2
ซม. หูใบรูปใบหอก 2 อัน หุ้มยอดอ่อนไว้ ยาว 2-5 ซม.
หนา ด้านนอกมีขนอ่อนๆ ด้านในเกลี้ยง ช่อดอกไม่มีก้าน
ออกเป็นรูปคู่ตรงง่ามใบหรือที่ตำแหน่งง่ามใบซึ่งร่วงไปแล้วเมื่อยังอ่อนมีใบใบประดับโค้งหุ้มอยู่
ใบประดับร่วงง่าย
ที่โคนช่อดอกยังมีใบประดับขนาดเล็กยาวประมาณ 5 มม. อีก
3 ใบ รองรับช่อดอกและติดอยู่กับผล
โคนเชื่อมกันและมีขนอ่อนนุ่ม ช่อดอกมีรูปร่างคล้ายผล
คือมีฐานรองดอกเจริญเปลี่ยนแปลง
ขยายใหญ่เป็นเปาะและมีรูเปิดที่ปลาย
ดอกแยกเพศอยู่ภายในกระเปาะ ดอกเพศผู้ มีจำนวนมาก
แซมอยู่ทั่วไป ด้านดอกยาว 2-3 มม. กลีบรวมชั้นเดียว 4
กลีบ เกสรเพศผู้ 1 อัน ดอกเพศเมียโคนกลีบติดกัน
ปลายแยกเป็น 4 แฉก รังไข่มี 1 ช่อง มีออวุล 1 เม็ด
และมีดอกเพศเมียไม่สมบูรณ์เพศ
อาจมีไข่หรือตัวอ่อนของแมลงอยู่ภายใน (gall-flower)
ผลแบบมะเดื่อ (syconium)
รูปไข่ยาว 1.5-2.5 ซม. สุกสีเหลือง
ส่วนที่เป็นเนื้อของผลคือฐานรองดอกซึ่งเปลี่ยนแปลงไป
ภายในประกอบด้วยผลเล็กๆ จำนวนมาก
ซึ่งแต่ละผลมีเนื้อบางๆ และมี 1 เมล็ด
มีเขตกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค
ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภาคใต้ของจีน พม่า ศรีลังกา
ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย
ประโยชน์ :
รากอากาศของต้นกร่างเหนียว
ใช้ทำเชือกได้ เปลือกชั้นในใช้ทำกระดาษ
ต้นใช้เลี้ยงครั่ง (Burkill,1935)
ที่มาของข้อมูล:
เรียบเรียงโดย รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา
หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ก.
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,2538 |
|