กระบากดำ
ชื่อพื้นเมือง
: เคียนทราย (กระบี่,
ตรัง), ตะบากดำ (สุราษฎร์ธานี),
มะรันตีสะตา (มลายู-สตูล),
ยอมกำ เหล็กปัก (ตรัง),
สยา (นราธิวาส), เหี้ยตะงะ
(ชุมพร), กระบากขาว (ชลบุรี),
กระบากดำ (ระนอง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea
farinosa C.E.C. Fisch.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ : -
ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่
สูง 20-50 ม. ลำต้นเปลา
เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ
ใบเดี่ยว
เรียงสลับ
รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปใบหอก
โคนและปลายมน ขอบเรียบ
ตรงมุมระหว่างเส้นแขนงใบกับเส้นกลางใบมีขนเป็นกระจุกเล็กๆ
(domatia) ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง
ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง
ดอกสีเหลือง กลิ่นหอม
ออกด้านเดียวและเรียงห่างๆ
กัน
ระยะที่ออกดอกใบมักร่วง
กลีบเลี้ยง 5 กลีบ
กลีบดอก 5 กลีบ
เรียงซ้อนเวียนกันคล้ายกังหัน
เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก
เกสรเพศเมีย 1 อัน ผลกลม
ปลายเป็นติ่งแหลม
มีปีกซึ่งเจริญมาจากกลีบเลี้ยงเป็นปีกยาว
3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ปีกยาวมีเส้นปีก 11-13 เส้น
เรียงขนานกันตามยาว
ผลและปีกเมื่อแก่สีน้ำตาล
ประโยชน์ :
เนื้อไม้ค่อนข้างหยาบ
เป็นมัน
สีเหลืองหรือเหลืองอมน้ำตาล
เมื่อถูกอากาศนานๆ
สีจะเข้มขึ้น เสี้ยนตรง
เลื่อยยาก ใช้ทำเสา รอด
สะพาน
โทษ : -