กลับหน้าหลัก : บทนำ
    ความรู้ทั่วไป
     การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน
     การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
     การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร
     วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา
     สารประกอบทางเคมี-เภสัชวิทยาของสมุนไพร
     ข้อควรรู้ทั่วไปในการใช้ยาสมุนไพร
     ความหมายของคำที่ควรทราบ
     การเปรียบเทียบปริมาตรและปริมาณ
     ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยาไทย
     สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร
     ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
    สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ




































 

     

หน้า 6

1   2   3   4   5   6   7   8

 
  • การปลูก  ถ้าเป็นต้นไม้ที่อยู่ในกระถาง ถ้าไม่อยากทุบกระถาง เอาต้นไม้ออกจากกระถางได้โดยเอากระถางได้โดยเอากระถางไปแช่ในน้ำ เพื่อให้ดินร่อนจากกระถาง และทิ้งไว้สัก 5 นาที แล้วยกกระถางออกจากน้ำ ตั้งทิ้งไว้สัก 5 นาที เอามือตบรอบๆ กระถางเบาๆ กางมือขวาออก เอามือซ้ายจับกระถางไว้ แล้วคว่ำลงบนฝ่ามือ ให้ต้นไม้อยู่ระหว่างนิ้วชี้และนิ้วกลาง เอาหัวแม่มือซ้ายสอดเข้าไปตรงรูระบายน้ำก้นกระถาง ดันให้ดินหลุดออกจากกระถาง แล้วยกกระถางออก แต่ถ้าเป็นกระถางปากแคบ ควรจะขุดดินข้างๆ ปากกระถางออกเสียก่อน เพื่อทำให้ดินหลุดออกจากกระถางได้ง่ายเข้า แล้วยกต้นไม้ไปวางบนหลุมกลางกองดินที่ทำไว้ กลบดินให้ท่วมรากต้นไม้ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม เป็นเสร็จการปลูก
         ถ้าเป็นกิ่งตอนที่เพิ่งตัดมาใหม่ๆ ก็ควรปลูกใส่กระถางไว้ในที่ร่มหรือที่มีแสงรำไรเสียก่อน จึงนำไปปลูกทีหลัง จะทำให้ต้นไม้นั้นมีทางรอดตายมากกว่า หรือถ้ามีความจำเป็นต้องรีบปลูก ก็ควรเอากิ่งตอนนั้นไปชำเสียก่อน เพื่อให้รากออกมากๆ และแข็งแรงเสียก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในหลุมปลูกที่เตรียมไว้
         ควรทำร่มบังแสงแดดจัด ตอนกลางวันให้กับต้นไม้ เพราะถ้าต้นไม้ได้รับแสงแดดจัด ต้นไม่ลดอุณหภูมิลงโดยการคายน้ำ ขณะที่ปลูกใหม่ๆ ต้นพืชดูดน้ำไม่ค่อยดี เพราะรากของพืชสัมผัสกับดินไม่ค่อยดี การทำให้รากพืชสัมผัสกับดินให้ดีได้ดังนี้ก็คือ  กดดินให้แน่นขณะปลูก หรือรดน้ำให้โชกเพื่อให้ดินติดกับรากพืชได้สนิท ถ้าไม่แน่ใจว่ารากพืชสัมผัสกับดินดีก็ควรจะทำร่มกันแดดให้กับต้นพืช เพื่อลดการคายน้ำของต้นพืช การตัดใบออกบ้าง หรือตัดยอดอ่อนออกบ้าง เป็นทางหนึ่งที่จะลดการสูญเสียน้ำของพืช ถ้าเป็นไม้กระถางที่แข็งแรงแล้วและมีดินติดไปมากขณะย้ายปลูก ไม่มีความจำเป็นจะต้องพลางแสงแดดให้ แต่ถ้าเป็นกิ่งตอนมีความจำเป็นมาก มะม่วงชอบดินที่มีการระบายน้ำดี แต่ชมพู่น้ำขังกลับดี มะละกอน้ำขังได้ไม่เกิน 1 วัน จะต้องตาย ดังนั้นมะละกอควรจะปลูกที่สูงๆ หรือเนินดิน ชมพู่ควรปลูกที่ต่ำริมน้ำ

การเตรียมดินปลูกหญ้า
          การเตรียมดินปลูกหญ้าทำสนามหญ้าในบ้าน ก่อนอื่นทั้งหมดควรเกลี่ยดินให้เรียบที่สุดที่จะทำได้ ไม่ควรทำที่ดินให้สูงๆ ต่ำๆ ลุ่มๆ ดอนๆ เพราะจะทำให้การตัดหญ้าลำบาก ถ้าเกลี่ยดินลำบากก็ควรเอาทรายช่วยถมที่ลุ่มๆ ดอนๆ แล้วเกลี่ยดินให้เรียบ แต่ที่สำคัญไม่ควรให้ควรให้ทรายมากนัก เมื่อเกลี่ยดินเรียบร้อยแล้วโรยปุ๋ยเทศบาลหรือปุ๋ยคอกให้สม่ำเสมอทั้งบริเวณ ปุ๋ยเทศบาลควรจะสักหนึ่งบุ้งกี๋ต่อดินต่อพื้นที่ 2-3 ตารางเมตร ถ้าจะใช้เลนตมเกลี่ยให้เรียบก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเทศบาล เมื่อโรยปุ๋ยแล้วเอาแผ่นหญ้ามาปู หรือถ้าจะปลูกหญ้าเป็นหย่อมๆ ก็ควรปลูกห่างกันพอควร พยายามกดหญ้าให้ติดกับดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นต้องรดน้ำให้ชุ่มทุกวันจนหญ้าขึ้นเขียว จึงค่อยลดการรดน้ำ ควรเก็บและถอนวัชพืชออกจากสนามหญ้าอย่างสม่ำเสมอ ปุ๋ยที่ใช้มีปุ๋ยยูเรีย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต หว่านปุ๋ยในอัตรา หนึ่งกำมือต่อพื้นที่ 3-4 ตารางเมตร ควรใส่ปุ๋ย 5-6 เดือนต่อครั้ง แล้วฉีดน้ำตามเพื่อให้ปุ๋ยละลายลงไปในดิน ถ้าไม่รดน้ำตาม เมื่อปุ๋ยถูกความชื้น จะทำให้ปุ๋ยทำลายหญ้าไหม้เป็นจุดๆ ไม่สวย ถ้าตัดหญ้าทุกอาทิตย์แล้วปล่อยใบหญ้าที่ตัดออกทิ้งไว้ในสนามเพื่อเป็นปุ๋ยก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องใส่ปุ๋ยให้กับสนามหญ้า แต่ถ้า 3-4 อาทิตย์ตัดหญ้าครั้งหนึ่ง ไม่แนะนำให้ปล่อยหญ้าไว้ในสนาม เพราะมองดูแล้วไม่สวยงาม

อ่านต่อ