กลับหน้าหลัก : บทนำ
    ความรู้ทั่วไป
     การปรับปรุงดินปลูกต้นไม้ในบ้าน
     การขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
     การปลูกและบำรุงรักษาพืชสมุนไพร
     วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา
     สารประกอบทางเคมี-เภสัชวิทยาของสมุนไพร
     ข้อควรรู้ทั่วไปในการใช้ยาสมุนไพร
     ความหมายของคำที่ควรทราบ
     การเปรียบเทียบปริมาตรและปริมาณ
     ข้อควรรู้เกี่ยวกับการปรุงยาไทย
     สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยาสมุนไพร
     ประโยชน์ของการใช้ยาสมุนไพร
    สรรพคุณสมุนไพรแบ่งตามกลุ่มอาการ





























 

     

หน้า 8

1   2   3   4   5   6   7   8

 

          จุดดี และจุดอ่อนของปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยเคมี มีดังนี้คือ
          ปุ๋ยอินทรีย์ จุดดีก็คือ ช่วยทำให้ดินร่วมซุย ลดความเหนียวของดิน ลดการพังทลายของดิน ทำให้ดินอ่อนนุ่ม ทำให้ดินอุ้มน้ำได้มากขึ้น ทำให้ดินสามารถดูดอาหาร ธาตุของพืชไว้ได้มากขึ้น และค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาให้กับต้นพืช ช่วยลดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินอย่างรวดเร็ว จำทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ปุ๋ยอินทรีย์มักจะมีอาหารแร่ธาตุที่พืชต้องการทั้งปริมาณมากและปริมาณน้อยครบถ้วน และค่อยๆ ปลดปล่อยออกมาให้กับต้นพืช
          จุดอ่อนของปุ๋ยอินทรีย์คือ มีปริมาณธาตุอาหารของพืชน้อยและต้องใส่เป็นประมาณมากๆ ซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง และใส่เป็นปริมาณมากในดินน้ำขังไม่ดี
          ปุ๋ยเคมี  จุดดีของปุ๋ยเคมีคือ มีปริมาณอาหารธาตุของพืชมากและต้องใส่เป็นปริมาณน้อย ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่ำ ต้นพืชสามารถใช้เป็นอาหารธาตุของพืชได้ทันที สามารถเร่งให้พืชเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ใส่ปุ๋ยเพื่อให้พืชให้ผลิตผลตามคุณภาพที่ต้องการได้ดี
          จุดอ่อนของปุ๋ยเคมีคือ ถ้าใส่ปุ๋ยไม่ถูกวิธี จะทำให้ดินเสีย ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น หรือเป็นด่างเพิ่มขึ้น ทำให้ดินฟุ้งกระจาย น้ำซึมผ่านได้ยาก ดินถูกน้ำดูดซับอาหารธาตุของพืชได้น้อยลง เนื่องจากปุ๋ยเคมีทำให้อินทรีย์วัตถุในดินลดน้อยลง ปุ๋ยเคมีจึงทำให้ดินแข็ง อาหารธาตุของพืชบางชนิดที่พืชต้องการเป็นปริมาณน้อยอาจจะลดน้อยลง ปุ๋ยเคมีทำให้โครงสร้างของดินเสีย
          ทางที่ดีก็คือ ควรจะใส่ปุ๋ยทั้งปุ๋ยเคมีควบคู่กันไปกับปุ๋ยอินทรีย์ แต่ก็ควรจะทราบว่าระยะเวลาไหนควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ และระยะเวลาไหนควรจะใส่ปุ๋ยเคมีจึงจะเหมาะ ดังเช่น การจะปลูกต้นสมุนไพร หนุมานประสานกาย เพื่อให้มีสรรพคุณตัวยาครบถ้วนตามต้องการ จะต้องขึ้นอยู่กับการปลูก ในการปรุงปุ๋ยให้มี โอสถสาร คือดินที่ใช้ปลูก เพียงใช้ปุ๋ยธรรมชาติซึ่งประกอบด้วย

  1. ดินลูกรังมีปริมาณ 250 กิโลกรัม/เนื้อที่ดิน 1 ไร่ ซึ่งมีแร่เหล็ก (Fe) และสารต่างๆ ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน แคลเซียม แมกนีเซียม โปรแตสเซียม สังกะสี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปุ๋ยมากมาย

  2. ใช้ผงถ่านป่น หรือขี้เถ้าแกลบโรงสีไฟ 250 กิโลกรัม /เนื้อที่ดิน 1 ไร่ แทนโปรแตสเซียมออกไซด์ ทั้งนี้เพราะผงท่านป่นหรือขี้เถ้าแกลบตามโรงสีมีสารโปรแตสเซียมอ๊อกไซด์อย่างอุดมสมบูรณ์

  3. ใช้สารฟอสเฟท และไนโตรเจน จากสารยูเรีย จากมูลโค กระบือ หรือมูลสัตว์อื่นๆ ตากแห้ง ในน้ำหนัก 250 กิโลกรัม/ที่ดิน 1 ไร่

  4. ปลูกกลางแดด ให้ได้รับแสงอุลตร้าไวโอเลต
    เมื่อได้โอสถสารครบถ้วนตามดังกล่าวข้างบน สมุนไพรหนุมานประสานกาย จะมีตัวยาที่มีสรรพคุณครบถ้วน