ย้อนกลับ

หน้า  1  2   

 


 

























































 
 

ปาล์มน้ำมัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Elaeis guineensis  Jacq.
วงศ์ :  Palmae
ชื่อสามัญ : Oil Palm
ชื่ออื่น :
มะพร้าวลิง, มะพร้าวหัวลิง  (กลาง) หมากมัน (ปัตตานี)

ลักษณะ : ปาล์มน้ำมันจัดอยู่ในพืชตระกูลปาล์ม ( Palmae หรือ Recaceae ) ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดคือ
1. Elaeis guineensis ( african oil palm )
2. Elaeis oleifera ( south american oil palm )
3. Elaeis odora ( american oil palm ) ไม่มีรายงานความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ทั้ง 3 ชนิดนี้ Elaeil guineensis มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ลักษณะของราก ลำต้น ใบ ( Vegetative characters )  ราก เกิดขึ้นตรงฐานโคนของลำต้นเป็นระบบแขนง ( adventitious root system ) แบ่งออกเป็นหลายชุดดังนี้คือ รากชุดราก ( Primary root ) เกิดตรงโคนลำต้นมีขนาดใหญ่ที่สุด ส่วนใหญ่เจริญตามแนวอาจจะยาวออกไปไกล 15-20 เมตร อีกส่วนหนึ่งจะเจริญไปตามแนวลึก จากรากชุดนี้จะมีการแตกแขนงจากรากชุดที่สี่จะลดตามลำดับ รากชุดที่สามจะไม่มีขน รากชุดที่สี่จะทำหน้าที่ดูดน้ำและธาตุอาหารแทน ความหนาแน่นของรากจะพบในบริเวณรัศมีของพุ่มใบและลึกลงไปประมาณ 15 เซนติเมตร จากผิวดิน การแผ่กระจากของรากจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่างๆ จะพบรากพิเศษคือ รากอากาศ ( aerial หรือ phneumathodes ) ตรงบริเวณโคนต้นทำหน้าที่ถ่ายเทอากาศระหว่างรากกับบรรยากาศด้วย ลำต้น มีลักษณะเป็นต้นเดี่ยวตั้งตรงรูปร่างทรงกระบอกมีเนื้อเยื่อเจริญเฉพาะตรงปลายยอด 2-3 ปีแรกจะช่วยในการเจริญเติบโตทางด้านกว้างจากนั้นแล้วจึงจะมีการเจริญทางด้านการสูงเรื่อย ลำต้นมีข้อสั้นๆ เป็นที่เกิดของใบ เวลาตัดทางใบจะเห็นตอใบเวียนรอบต้น ต้นที่มีอายุมากเมื่อใบร่วงหล่นเองลำต้นจะเรียบ ใบ ในภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต จะมีทางใบ (Frond) เกิดขึ้นที่รอบยอด (crow) และมีทางใบอ่อนที่กำลังพัฒนาจากเนื้อเยื่อเจริญปลายยอดอีก ทางเดียวกันจะมีการสร้างประมาณเดือนละ 2 ทาง การเจริญภายในแต่ละทางใบเป็นไปอย่างเชื่องช้าเกินเวลาร่วง 2 ปี จึงจะปรากฏให้เป็นยอดแหลม (spear) ออกมาหลังจากนั้นก็เจริญอย่างรวดเร็ว เมื่อทางใบหนึ่งคลี่จะมีทางใบถัดไปในรูปยอดแหลมเกิดขึ้นมาแทนเป็นลำดับทางใบคลี่แล้วจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงและอื่นๆ ประมาณ 2 ปี ทางใบจะประกอบด้วยแกนทางใบ ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของระเบียบในแต่ละข้างของแกนทางใบ (rachis) ก้านใบ (petiole) ที่ริมทั้งสองข้างมี่หนาม ใบย่อย (leaflet) เรียงอยู่ในลักษณะสองระดับเหลื่อมกันอย่างเป็นระเบียบในแต่ละข้างของแกนทางใบ ทางใบปาล์มจะเรียงอยู่บนลำต้น ระเบียบคือมีลักษณะเป็นเกลียวทั้งวนขวา และวนซ้าย จะติดอยู่กับลำต้นหลายๆ ปี ไม่หลุดออก จึงต้องมีการตัดแต่งทางใบ  ลักษณะของช่องดอก ผล เมล็ด หรือส่วนสืบพันธุ์ (reproductive character) ช่อดอก เริ่มออกดอกเมื่อประมาณ 2-3 ปี หลังจากปลูกลงในแปลง ช่อดอกจะเกิดจากตาดอกซึ่งอยู่ตรงซอกโคนก้านใบทุกใบ ดอกที่เกิดขึ้นมาใหม่จะถูกหุ้มด้วยกาบหุ้มช่อดอกจะเปิดออก 6-8 สัปดาห์
1. ช่อออกเพศผู้ ประกอบด้วยช่อดอกย่อย (spikelet) ที่มีลักษณะยาวเรียวคล้ายนิ้วมือ เรียงอยู่บนแกนกลาง ช่อดอก แต่ช่อดอกย่อยจะมีดอกตัวผู้เล็กๆ เกิดโดยรอบ เวลาบานจะเห็นเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม จะบานออกจากโคนมายังปลาย 3-5 วันแล้วแต่สภาพแวดล้อม หลังจากดอกบานเรียบร้อยแล้วช่อดอกย่อยเหล่านั้นจะมีราเกิดขึ้น เห็นเป็นสีเทา ๆ ทั่วไป
2. ช่อดอกเพศเมีย เป็นแบบ spike หรือ spadix ยาวประมาณ 24-45 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยซึ่งมีใบประดับที่ยาวปลายแหลม (spinous bract) เรียงเป็นเกลียวบนแกนช่อดอกใหญ่ ย่อยที่อยู่ตรงแกนจะมีดอกตัวเมียประมาณ 12-30 ดอก และมีน้อยลงทางโคนและปลายแกนของช่อ จะมีตัวเมียทั้งสิ้นหลายพันดอก เมื่อดอกพร้อมที่จะผสม (receptive) จะเห็นยอดเกสรตัวเมีย (stigma) ซึ่งมี 3 แฉก จะมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน แถบแดงเคลือบด้วยเมือกเหนียวๆ เมื่อพ้นระยะนี้แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีดอกตัวเมียแต่ละดอกจะมีรังไข่ที่แยกออกเป็น 3 พู (tricarpellary ovary) แต่ส่วนใหญ่พัฒนาเป็นผลเพียงพูเดียว
3. ช่อดอกผสมหรือกะเทย ช่อดอกประเภทนี้คือช่อดอกที่มีช่อดอกย่อยทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน เกิดขึ้นในบ้างโอกาสเท่านั้น ช่อดอกย่อยเพศเพศเมียจะอยู่บริเวณส่วนกลาง และช่อดอกย่อยเพศผู้จะอยู่ทางส่วนโคนและปรายของช่อดอกใหญ่ ช่อดอกประเภทนี้เป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์เพราะจะให้ผลผลิตต่ำ
ช่อดอกอาจจะเกิดการลีบหรือไม่พัฒนาเป็นดอก (abortion) ซึ่งมักจะปรากฏเมื่อปาล์มอายุน้อยเริ่มผลผลิตดอกใหม่ๆ หรือบางกรณีที่มีการกระทบแล้งมากๆ ที่จะมีผลต่อดอกที่กำลังพัฒนา  ผลและเม็ด การสุกของผลจะช้าเร็วยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เช่นถ้ามีฝนตกดีสม่ำเสมอตลอดปีผลจะสุกเร็ว ปาล์มที่มีอายุเต็มที่แล้วสามารถจะให้ผลประมาณ 1,600 ผลต่อทะลายผลปาล์มเป็นแบบ drupe  ประกอบด้วยเปลือกชั้นนอก (exocarp) เปลือกชั้นกลางหรือกาบ (mesocarp) ซึ่งเป็นส่วนที่มีน้ำมันอยู่ทั้งสองส่วนเรียกรวมกันว่า pericarp และมีชั้นในสุดเป็นกะลา (endocarp) ถัดจากส่วนนี้ไปก็เป็นส่วนของเม็ดซึ่งประกอบด้วย เนื้อในเมล็ด (kernel หรือ endosperm) ซึ่งมีน้ำมันอยู่เช่นกัน และส่วนของคัพภะ (embryo) ผลและเมล็ดเป็นส่วนที่มีความสำคัญที่สุดเพราะเป็นส่วนที่จะให้น้ำมัน  สีของผล ผลของปาล์มน้ำมันโดยทั่วไปเมื่อยังอ่อนอยู่จะมีมีน้ำตาลดำ เมื่อสุกจะมีสีแดง เนื่องจากมีรงควัตถุ (carotenoid) อยู่ใน pericarp ส่วนที่โคนผลจะไม่มีสี ผลที่มีสีแบบนี้เรียกว่า nigrescens แบ่งออกเป็น rubro-nitrescene (สุกสีแดงตลอดผล) และ rutilo-nigrexcens (สุกสีเหลืองอ่อน)น้ำมันที่สกัดออกมาจะมีสี ในขบวนการผลิตจึงมีขั้นตอนการฟอกสีด้วย ประเภทที่มีผลสีเขียวเวลายังไม่สุกและสีแดงอ่อน เนื่องจากไม่มีรงควัตถุ exocarp เรียกว่า virescens พบน้อย อีกประเภทหนึ่งเวลาผลสุกจะไม่มีสีแดงเนื่องจากไม่มีสาร carotenoid หรือมีน้อยใน mesocarp น้ำมันที่สกัดจะไม่มีสี
ประโยชน์ :  น้ำมันปาล์มเกิดขึ้นจากผลปาล์ม 2 ส่วน คือ จากเปลือกหุ้มภายนอก และจากเนื้อในของเมล็ด  น้ำมันจากเปลือกของปาล์ม ประกอบด้วยกรดไขมันที่อิ่มตัว ประมาณร้อยละ ๕๒ และกรดไขมันไม่อิ่มตัว ร้อยละ ๔๘ ดังนั้น จึงต้องนำน้ำมันดิบผ่านกรรมวิธีแยกกรดไขมันทั้งสองออกจากกัน นำน้ำมันไม่อิ่มตัวไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด เช่น ใช้ ปรุงอาหาร ทำเนยเทียม หรือมาการีน เนยขาว เป็นส่วนผสมของนมข้นหวาน ไอศกรีม และขนมอีกหลายชนิด ส่วนที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวก็นำไปทำสบู่ ผงซักฟอก และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ส่วนน้ำมันเนื้อในของเมล็ดปาล์ม ประกอบด้วยน้ำมันชนิดอิ่มตัวสูงถึงร้อยละ 85 - 90 ทำให้ไม่เหมาะต่อการบริโภค จึงนำไปใช้ ในอุตสาหกรรมทำสบู่ เครื่องสำอาง ผงซักฟอก อุตสาหกรรม