สวนพฤกษศาสตร์คลองไผ่
             Klong Phai Botanical Garden   
 

MORACEAE                                                                                             

















 


ไกร
 (ชนิดที่ 1 )

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Fiscus  concinna   Miq.
ชื่อพ้อง : F. affinis  Wall.ex Kurz,  F. glabella  Blume var. affinis (Wall.) King,  F. glabella  Blume var.concinna King; Urostigma concinnum  Miq.

วงศ์ :  MORACEAE
ชื่อสามัญ

ชื่ออื่น :  กร่าง ไทรกร่าง (กรุงเทพฯ) ไฮฮี (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้ต้นสูงได้ถึง 30 เมตร  มียางสีขาว รากอากาศเกิดใกล้โคนต้น ลำต้นและทุกส่วนสีน้ำตาล ไม่มีขน ใบอ่อนสีชมพู ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-8.5 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมติ่งสั้นๆ โคนแหลมหรือสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา เส้นแขนงใบข้างละประมาณ 12 เส้น ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ เส้นกลางใบสีขาว เห็นเด่นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบยาว 1.2-1.5 ซม. หูใบ 2 อัน ประกบกันหุ้มยอดอ่อน รูปไข่แกมรูปใบหอก ร่วงง่าย ช่อดอกออกเป็นคู่ตามง่ามใบและอยู่ทางด้านล่างของใบ มีใบประดับเล็กๆ 3 ใบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม ร่วงง่าย ก้านช่อดอกยาว 1-5 มม. ช่อดอกรูปร่างคล้ายผล คือมีฐานรองดอกเจริญเปลี่ยนแปลงขยายใหญ่เป็นเปาะมีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ดอกเล็กมาก แยกเพศอยู่ภายในกระเปาะ ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อย อยู่ใกล้รูเปิด ไม่มีก้าน มีกลีบรวมบางๆ 2 กลีบ ขนาดใหญ่กว่าเกสรเพศผู้ ดอกเพศเมียไม่มีกลีบดอกเช่นกัน มีกลีบรวมบางๆ 4 กลีบ หรือไม่มี ผลแบบมะเดื่อ สีชมพู รูปกลม กว้างประมาณ  6 มม. มีจุดสีแดงประปราย ภายในมีผลเล็กๆ รูปไข่ จำนวนมาก ก้านผลยาว 1-5 มม.
          มีเขตกระจายพันธ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค ในต่างประเทศพบที่อินเดีย ภาคใต้ของจีน จนถึงภูมิภาคมาเลเซีย ออกดอกและเป็นผลในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน

ประโยชน์ :  นิยมปลูกเป็นไม้แคระประดับ
ที่มาของข้อมูล: เรียบเรียงโดย รศ.บุศบรรณ ณ สงขลา หนังสืออนุกรมวิธานพืชอักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,2538
........................................................................................................
   ไกร (ชนิดที่ 2 )
 Fiscus  superba   Miq.